เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2566  ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า สภาการศึกษาได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในฐานะประเทศรับเชิญพิเศษ (Non-member Economy) ของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) สมัยที่ 34 (34th Session of Education Policy Committee) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566 พร้อมด้วย ดร.ศศิรัศม์ วีระไวทยะ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์

เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการศึกษาครั้งนี้ คณะกรรมการได้มีแลกเปลี่ยนในประเด็นด้านการศึกษาหลัก ๆ ดังนี้ 1, การศึกษาและสภาพอากาศโลก (Education and Climate) 2. แผนงานและงบประมาณประจำปี 2025-2026 ประชุมกรอบการทำงานและงบประมาณของคณะกรรมการฯ รายงานความก้าวหน้าโดยผู้จัดการโครงการด้านการศึกษาของโออีซีดี (OEDC Lv1 Education Bodies) ได้แก่ PISA PLAAC CERI และ TALIS 3. การประชุมกรรมการด้านการศึกษาระดับนโยบายว่าด้วยการติตตามโครงการและความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำประกาศว่าด้วยการสร้างสังคมที่เท่าเทียมผ่านการศึกษา (2022 Declaration on Building Equitable Societies Through Education) 4. รายงานความคืบหน้าแผนงานการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Mapping of Lifelong learning)5. หารือเกี่ยวกับ (ร่าง) กรอบการวิเคราะห์ของการประเมินอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมระหว่างประเทศ (Assessment framework and the recommendation by the Working Party of the International VET Assessment) 6. ประชุมเรื่องแผนจัดทำรายงานพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในปี 2025 (Plans for the Skills Outlook 2025) 7. รายงานความคืบหน้าการประชุมสุดยอดทักษะปี 2024 (Skills Summit 2024) 8. ความคืบหน้าโครงการจัดหาทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนในยุคดิจิทัล (Resourcing School Education for the Digital Age: Effective Digitalization and Future-Ready Teachers) 9. ร่างแนวทางนโยบายการใช้ AI ในการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมโดยพัฒนาจากโครงการ CERI (Opportunities, guidelines and guardrails for the use of Artificial Intelligence (AI) in Education)และ 10. รายงานความคืบหน้าของงานภายใต้โครงการ Global Forum on the Future of Education and Skills 2030

ดร.อรรถพล กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญจากการประชุมฯ ดังนี้ 1.การส่งเสริมความเข้าใจภาวะโลกร้อนผ่านระบบศึกษา ซึ่งเกิดจากข้อริเริ่มในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาของ OECD ที่เล็งเห็นความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษาเพื่อสร้างวิสัยทัศน์และทักษะที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ คณะกรรมการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือข้อกังวลด้านนโยบายด้านการศึกษาและการจัดฝึกอบรมเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) 2.ร่างแนวทางนโยบายการใช้ AI ในการศึกษาอยางมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม ซึ่งพัฒนาจากโครงการของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ( Centre for Educational Research and Innovation : CERI) เกี่ยวกับข้อมูลอัจฉริยะและเทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนาเป็นคู่มือแนะนำการใช้ AI ในด้านการศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมองค์กรด้านการศึกษาให้พัฒนาเท่าทัน AI ที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงสร้างโอกาสและพื้นที่การเรียนรู้ผ่าน AI และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ และจำกัดอุปสรรคที่ส่งผลต่อเป้าหมายทางการศึกษา เช่น ความเท่าเทียม คุณภาพ และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน 4.ทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนในยุคดิจิทัล (Digital Ages) ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะ (Skill Development) การเปลี่ยนแปลงหลังช่วง การระบาดของไวรัสโคโรนา (Post-Covid) ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) ที่ส่งผลถึงการรับรู้ข่าวสารและการเลือกเชื่อข้อมูลที่เป็นทั้งจริงและเท็จและการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ (Social-emotional learning)5.ความคืบหน้าของงานภายใต้โครงการ Global Forum on the Future of Education and Skills 2030 และการจัดการประชุมการศึกษาและทักษะแห่งอนาคตในปี 2030 ครั้งที่ 5 (5th  Global Forum of the Future of Education and Skills 2030)

“การประชุมมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยภายหลังการประชุม เช่น เรื่องสมรรถนะหรือทักษะวิชาชีพ โอกาสของผู้เรียนในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะหลังจากจบการศึกษา โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ การพัฒนาสมรรถนะด้านการสอนของครูในโลกที่เปลี่ยนแปลง และการพัฒนาเด็กปฐมวัย และยังมีประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจซึ่งสามารถเทียบเคียงกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยภายหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา ได้แก่ ความจำเป็นในการทบทวนองค์ความรู้ ทฤษฎี รายวิชาที่ยังไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถประกอบอาชีพ มีทักษะการทำงานที่ใช้ได้จริงและมีทักษะการดำรงชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีความสุข (Well Being) ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาครูให้เพียงพอและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน”ดร.อรรถพล กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สภาการศึกษา ได้มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การ OECD ทางด้านนโยบายการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการนโยบายการศึกษาของ OECD ในเดือนเมษายนและพฤศจิกายน การเข้าร่วมประชุม EDPC ทำให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำและพัฒนานโยบายการศึกษาของประเทศในระดับต่าง ๆ ให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและแข่งขันได้กับนานาชาติ รวมถึงกำหนดทิศทางตามแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาในอนาคต ซึ่ง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะดำเนินการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ OECD เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำเสนอเชิงนโยบายทางการศึกษาของประเทศไทย ทำงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาของ OECD  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Country Program: CP)  ต่อไป

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments