เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)เปิดเผยภายหลังการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 17/2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ Zoom meeting ว่า ในการประชุมวันนี้ ตนได้ฝากให้ทุกหน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกัน กำกับดูแล และช่วยเหลือ เยียวยากรณีนักเรียนทำร้ายกันจนเสียชีวิตอย่างใกล้ชิด รวมถึงปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.)ดำเนินการจัดทำข้อมูลงบประมาณ อาหารเสริมนมโรงเรียน อาหารกลางวัน รวมทั้งรวบรวมปัญหา อุปสรรค และสาเหตุความล่าช้า เพื่อเป็นข้อมูลนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา

 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสภาการศึกษา(สกศ.)ได้รายงานเกี่ยวกับ Education Benchmarking การเปรียบเทียบการศึกษาไทยในระดับสากลที่เน้นเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึงมากกว่าการจัดอันดับ (Ranking) เน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และเน้นการวิเคราะห์จุดอ่อน และจุดแข็งมากกว่าการพัฒนาอันดับ  โดยได้มีการเปรียบเทียบ 5 มิติ ดังนี้  1 คุณภาพผู้เรียน (Quality)    ใช้ผลการทดสอบ PISA วิชาคณิตศาสตร์เป็นตัวชี้วัด (ที่มา: OECD)  2 การเข้าถึงระบบการศึกษา (Access)    ใช้อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษาเป็นตัวชี้วัด (ที่มา: IMD) 3 ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity)    ใช้ปีการศึกษาที่คาดหวังเป็นตัวชี้วัด  4 ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา (Efficiency)    ใช้ตัวชี้วัด สัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา  (%GDP) ต่อคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ PISA เป็นตัวชี้วัด (ที่มา: IMD และ OECD คำนวณโดย สกศ.) และ 5 การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง (Relevancy)    ใช้สัดส่วนของประชากร อายุ 25 -34 ปีที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นตัวชี้วัด (ที่มา: IMD) โดยเปรียบเทียบภาพรวมของการศึกษาไทยในระดับโลก ระดับเอเชีย (ไทยใกล้เคียงกับสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และระดับอาเซียน (ไทย ใกล้เคียงกับ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สำหรับลำดับรองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ทั้งนี้จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่า การศึกษาไทยมีศักยภาพเพียงพอ ที่จะเทียบเคียงกับระดับนานาชาติได้ ดังนั้นจึงขอให้พวกเราช่วยระดมสมอง เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาในแต่ละด้าน ให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ รวมถึงมอบหมาย สกศ. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ย้อนหลัง 5 – 10 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา เพื่อวัดระดับที่ไทยสามารถพัฒนาขึ้นมาได้

 “ผมขอให้แต่ละหน่วย โดยเฉพาะสถานศึกษา ดำเนินการจัดทำแผน/มาตรการป้องกันภัยธรรมชาติ อาทิ วาตภัย อุทกภัย เนื่องจากอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสียหายจากฝนตกหนัก และพายุฤดูร้อนเพิ่มขึ้น รวมทั้งจัดทำมาตรการป้องกันปัญหายาเสพติด และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งไม่สามารถดำเนินการคนเดียวได้ จึงควรมีเครือข่าย การทำงาน เช่น ฝ่ายปกครอง และ เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่  และ นโยบายของนายกรัฐมนตรี เรื่อง Thailand Zero Dropout ซึ่งนอกจากติดตามเด็กที่หลุดจากการศึกษาแล้ว ยังต้องเฝ้าระวังเด็กที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดยในส่วนของ ศธ. ได้เน้นย้ำมิติของการ ป้องกัน แก้ไข ส่งต่อ ติดตามดูแล ซึ่งเมื่อกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ต้องทำให้มั่นใจว่าเด็กจะไม่หลุดจากระบบการศึกษาอีก”พลตำรวจเอกเพิ่มพูนกล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments