เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564  นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.ในภูมิภาค ว่า ตนกระตุ้นให้ผู้ทำงานในระดับจังหวัด ทั้งศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ให้เกิดแรงผลักดันขับเคลื่อนการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาในอนาคต เพราะขณะนี้ ศธ.กำลังวางแผนพัฒนาการการศึกษาแต่ละจังหวัด ดังนั้นคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) จะต้องมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่  โดยการทำงานของจังหวัดไม่ใช่แค่พัฒนาโรงเรียนของรัฐเท่านั้น ต้องคำนึงถึงโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสังกัดอื่นด้วย ตนจึงกระตุ้นทำงานของ ศธ.ต้องมีความกระชับและโปร่งใส เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ.เห็นภาพการศึกษาทั้งหมด พร้อมกับเสนอแผนพัฒนาการศึกษาในบริบทของจังหวัด เพื่อจะลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ศธ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ขณะเดียวกันก็ต้องให้บริการนักเรียนอย่างทั่วถึงโดยคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นด้วย

“นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับอัตรากำลังคนใน ศธ. โดยต้องการเกลี่ยกำลังคนจะต้องให้คำนึงถึงแผนในอนาคต เพราะขณะนี้ ศธ.อยู่ระหว่างขับเคลื่อนการศึกษาทุกจังหวัด อาจจะมีความซับซ้อนในการทำงานและบุคลากรบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ  เพราะความซ้ำซ้อนในการทำงานส่งผลถึงการใช้งบประมาณอย่างไม่มีคุณภาพ ในส่วนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยังขาดคนอยู่ก็ต้องเติมบุคลากรส่วนที่จำเป็นไป ซึ่งล่าสุดผมได้เห็นชอบให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปรับโครงสร้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)เพิ่มจากเดิมที่มีอยู่ 42 เขต เป็น 62  เขต  เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว และสอดรับกับการพัฒนาโรงเรียนดีสี่มุมเมือง อย่างไรก็ตามหากมีการเพิ่ม สพม.ขึ้นมา จะต้องเพิ่มงบประมาณแน่นอน ซึ่งผมได้หารือกับ สพฐ.เพื่อเตรียมความพร้อมจัดสรรงบฯเพื่อรองรับแล้ว”รมว.ศธ.กล่าว

4.5 2 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments