ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักจนทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ตนได้ส่งสัญญาณไปยังโรงเรียนหรือในพื้นที่ที่เคยมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสเผชิญกับน้ำท่วมให้เฝ้าระวังแล้ว  โดยทราบว่าในพื้นที่ปริมณฑล และพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีน้ำท่วมอย่างหนัก จึงขอให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูประเมินสถานการณ์และวางแผนเก็บอุปกรณ์การเรียนการสอนไว้ในที่สูง รวมถึงออกแบบป้องกันระบบไฟฟ้าไม่ให้ได้รับความเสียหาย

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า นอกจากการดูแลอาคารสถานที่โรงเรียนแล้ว ขอให้ดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียน ซึ่งเมื่อน้ำท่วม จะกระทบกับการจัดการเรียนการสอน เด็กไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ ดังนั้นผู้อำนวยการโรงเรียนต้องดูเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมด้วย ทั้งนี้ หากโรงเรียนใดได้รับผลกระทบจนเกิดความเสียหาย จำเป็นต้นซ่อมแซมอาคารเรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็จะเข้าไปดูแลต่อไป

ด้านว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ได้รับรายงานว่า มีสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำ 88 เขตพื้นที่ฯ จำนวน 232 โรงเรียน มีนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบรวม 3,693 ราย มีการสั่งหยุดการเรียนการสอน 1 โรงเรียน ซึ่ง สพฐ. ได้ย้ำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์เป็นระยะ

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments