เมื่อวันที่ 14 กันยายน น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศึกษาธิการ) กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ตนอยากสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน และขอให้เข้าใจตรงกันว่าเราจะดำเนินการต่อไปตามแนวทางที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดไว้ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทุกสถานศึกษาจะสามารถเข้าใช้งานระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัลหรือ DPA ได้ โดยมีเขตพื้นที่ฯเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการขยายผลสร้างความเข้าใจในการใช้งานระบบ DPA ให้แก่สถานศึกษาในสังกัด โดยเราจะเปิดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ PA ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเป็นมติของ ก.ค.ศ. และมีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ เท่านั้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ทราบว่า ครูและผู้บริหารกังวลเรื่องเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ เพราะเป็นเรื่องใหม่ และอาจจะไม่มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้โรงเรียนทุกแห่งเข้าใจ จึงอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อน และสับสนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของช่วงเริ่มต้น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้มอบหมายให้ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)และ รศ.ดร.ประวิตร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา( ก.ค.ศ.)หารือร่วมกัน เพื่อสร้างทีมงานมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูในเขตพื้นที่ โดยใช้ชื่อทีมงานนี้ว่า “PA Support Team” ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และเพื่อนครูบางส่วน จำนวนเขตพื้นที่ฯละ 8-15 คน รวมประมาณ 2,500 คน โดยทีมงานนี้จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนครูอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทุกเขต กำกับ ดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธฺการ

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments