วันนี้( 20 กุมภาพันธ์ 2566 ) ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) มอบหมายให้เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน พิธีเปิดโครงการฝึกอบรม In – Country Program ร่วมกับ CPSC ในหัวข้อ “21st Century Skills for TVET” ระหว่างวันที่ 20 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 พร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมี ดร.เมียน คูรัม อาซาน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ CPSC ( Dr.Mian Khuram Ahsan,Senior Faculty Specialist,CPSC ) ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ณ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา จังหวัดชลบุรี

รองเลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับวิทยาลัยนักบริหารการศึกษาช่างเทคนิคแผนโคลัมโบ (Colombo Plan Staff College for Technician Education: CPSC) จัดโครงการฝึกอบรม In – Country Program ร่วมกับ CPSC ในหัวข้อ “21st Century Skills for TVET” เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม ให้แก่บุคลากรในสังกัดสอศ. มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 49 คน จากสถานศึกษา 30 แห่ง 2 สถาบันการอาชีวศึกษา และจากผลวิจัยของ World Economic Forum ระบุว่า ระบบการศึกษาต้องสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะใหม่ ๆ ให้สามารถรองรับคลื่นการเปลี่ยนแปลงจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทักษะเหล่านั้น เรียกว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21stCentury Skills) ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของ ทักษะการใช้ชีวิตและการทำงานให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ ทำให้ เด็กยุคใหม่จะต้องถูกเปลี่ยนบทบาทเดิมๆที่ถูกสร้างขึ้น ให้กลายเป็นบทบาทของผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และผู้สร้างนวัตกรรมที่หุ่นยนต์แทนที่ไม่ได้ให้ได้ ให้สามารถตอบสนองกับตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน เพราะอาชีพที่จะหายไปก่อนคืออาชีพที่ไม่ใช้ความซับซ้อนในการวิเคราะห์และตัดสินใจ และเป็นการทำซ้ำความซับซ้อนของโลกยุคใหม่จะทำให้เกิดความท้าทายต่างๆที่ไม่ซ้ำแบบให้กับเด็กรุ่นใหม่ได้ตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา จากปัญหาเดิมๆจะกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและ sensitive มากขึ้น ความสามารถที่เด็กยุคใหม่ต้องมีจึงไม่ใช่การทำงานเดิมหรือคิดเรื่องเดิมๆซ้ำๆ (routine work) อีกต่อไป

“การศึกษายุคใหม่ ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมี Growth Mindset (ความคิดแบบเติบโต) ให้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้มากขึ้นเพื่อให้รู้เท่าทันสิ่งที่ลูกต้องมี จะได้สามารถนำไปหล่อหลอมให้เกิดสภาพแวดล้อมในบ้านที่เอื้อให้เกิดการสร้างทักษะเหล่านี้กับลูกๆได้ ทั้งนี้ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก Lecturer (อาจารย์) เป็น Facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก) ในขณะที่สถานศึกษาและหลักสูตรต้องมีการปรับตัวและเปิดโอกาสให้มีการสร้างหลักสูตรใหม่ๆอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตและการทำงานในโลกศตวรรษใหม่”เรืออากาศโท สมพร กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments