เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ดร.อัมพร พินาสะ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้สัมภาษณ์กรณีโลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์แบบเรียนหนังสือภาษาไทยพาที ระดับชั้น .5 ประเด็นกินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ถือเป็นการพอเพียง เห็นคุณค่าของชีวิต ว่า การจัดการเรียนรู้วิชาต่างๆ จะมีแผนจัดการเรียนรู้อยู่ ซึ่งในแต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าต้องการสอนอะไรให้นักเรียนบ้าง ซึ่งการจัดการเรียนรู้ จะมีสื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับครูว่าจะนำสื่อการเรียนการสอนไหน มาสอนเด็กให้เด็กเกิดความรู้ โดยแบบเรียนภาษาพาที ที่เป็นประเด็นนั้น เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ครูใช้ประกอบการสอน เพื่อให้เด็กนำภาษาไปใช้แสดงความรู้สึก นึกคิด หรือเห็นคุณค่าของความสุขในชีวิตผ่านวรรณกรรมเท่านั้น คนเขียนจึงกำหนดตัวละครสมมุติขึ้น โดยมีตัวละครที่มาจากครอบครัวร่ำรวย แต่หาความสุขไม่เจอ และมีตัวละครที่เป็นเด็กกำพร้าแต่สามารถมีความสุขในการใช้ชีวิตด้วยการแบ่งปันกัน ซึ่งในเรื่องของการกินนั้น เนื้อเรื่องไม่ได้สื่อเรื่องโภชนาการ แต่ต้องการสื่อว่าความยากจน ไม่ว่าจะกินอะไร อยู่ตรงไหน ก็สามารถมีความสุขได้ เมื่อคนที่อยู่ในครอบครัวร่ำรวยมาเห็น จึงเข้าใจว่าความสุขในชีวิตไม่ได้อยู่ที่สถานที่เกิด หรือขึ้นอยู่กับสถานที่อยู่ แต่อยู่ที่ความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน

บทเรียนดังกล่าว ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความเข้าใจเรื่องความสุขของชีวิตแน่นอนว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ทิ้งหลักโภชนาการโดยได้กำหนดการเรียนการสอนเรื่องนี้ไว้ในหมวดวิชาสุขศึกษา อีกทั้ง สพฐ.ได้ให้ความสำคัญกับโภชนาการของเด็กอย่างมาก เห็นได้จากการมีระบบ Thai School Lunch ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพให้แก่นักเรียน ดังนั้น บทเรียนดังกล่าว เป็นการเปรียบเทียบให้เด็กเกิดกระบวนการคิด และได้เห็นว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ไม่อยากพาดพิงใคร แต่คิดว่าการเมืองขณะนี้อยู่ระหว่างการขายความคิด การขายนโยบาย ดังนั้น ส่วนไหนที่เป็นประโยชน์ สพฐ.ในฐานะผู้ปฏิบัติ ก็พร้อมที่จะรับฟังทุกความคิด ส่วนไหนที่เป็นประโยชน์จะรับฟังและไปปรับใช้ดร.อัมพร กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าดราม่าที่เกิดขึ้นลุกลามไปไกลหรือไม่ เลขาธิการ สพฐ.กล่าวว่าไม่กังวลว่าจะมีดราม่า เพราะ สพฐ.อยู่ภาคการศึกษา ยินดีที่จะรับฟังทุกความคิดเห็นเพราะมองว่าทุกความคิดมีประโยชน์ ซึ่งตนคิดว่าทุกคนมีวิจารณญาณในการวิเคราะห์อย่างไรก็ตาม การจัดทำหนังสือหนึ่งเล่ม สพฐ.ไม่ได้จัดทำเพียงคนเดียว จะต้องผ่านกระบวนการ ตั้งแต่การตั้งคณะกรรมการจัดทำ และผ่านการตรวจสอบจากนักวิชาการอีกหลายคนจนเห็นตรงกันว่าหนังสือที่ออกมาเป็นที่ยอมรับแล้ว ซึ่งตนเข้าใจดี เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์สถานการณ์เปลี่ยนไป สพฐ.พยายามจะทำหนังสือให้ดีขึ้น ทันสมัยมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า หนังสือภาษาพาทีมีประเด็นดราม่าตั้งแต่ปี 2563 แล้วปีนี้เกิดดราม่าขึ้นอีก จะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยหรือไม่ ดร.อัมพร กล่าวว่า สพฐ.มีการปรับปรุงหนังสือเรียนทุกๆ 10 ปี เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว และขณะนี้ สพฐ.เปิดโอกาสให้สำนักพิมพ์เสนอขอปรับปรุงสื่อการสอนของตนได้ ซึ่งสื่อที่ผลิตใหม่นำเสนอใหม่ถ้ามีหลักสูตรใหม่เกิดขึ้นมา หลักสูตรเก่าก็ต้องไม่มีการใช้สอนอยู่แล้ว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments