เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566  นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)  เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 12 – 15 พฤศจิกายน 2566 โดยมีผู้บริหาร คณะครู ข้าราชการการและบุคลากรทางการศึกษาอาชีวศึกษา เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 1 สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา โดย นายยศพล  กล่าวว่า ตามที่พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลและนโยบายการขับเคลื่อนของกระทรวงศึกษาธิการ นำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยแนวคิดในการจัดการอาชีวศึกษา ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษา มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 8 วาระงานพัฒนาอาชีวะ (8 Agenda) ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational for All) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา เข้าถึงการเรียนอาชีวศึกษาได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับครูอาชีวะให้มีสมรรถนะในการสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ สอศ.ได้ผลักดันมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือการดำเนินงานกับภาคีเครือข่าย เช่น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อช่วยหนุนเสริมการจัดการศึกษาคนพิการให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

เลขาธิการ กอศ.  กล่าวต่อไปว่า สอศ.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา เพื่อขยายโอกาสในการศึกษา สร้างความเสมอภาค และร่วมสร้างความพิเศษให้เป็นพลัง ส่งต่อให้ผู้เรียนพิการได้เข้าถึงโอกาสทางการอาชีวศึกษา ตามแนวทางการทำงานของ สอศ. มุ่งสานงานต่อ ก่อเริ่มงานใหม่ เป็นสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ และจะนำไปสู่การพัฒนาการอาชีวศึกษาที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์แก่ผู้เรียนสร้างคนให้มีความรู้ มีทักษะวิชาชีพเพื่อการมีงานทำ และการประกอบอาชีพอิสระเป็นกำลังแรงงานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

ด้าน นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา กล่าวว่าในปัจจุบันปีการศึกษา 2566 มีสถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาต่อทั้งภาครัฐ และเอกชน มากกว่า 200 แห่ง และมีผู้เรียนพิการในระบบจำนวนทั้งสิ้น 1,817 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 จำนวน 300 คน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ เกิดประสิทธิภาพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เกิดประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนพิการอย่างเสมอภาค และเท่าเทียม

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments