เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 รศ.ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา( ก.ค.ศ. )เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาสภาพอัตรากำลังและความก้าวหน้าทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมเบลล่า ปี จังหวัดนนทบุรี โดย เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า เนื่องจากสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับมอบนโยบายในการศึกษาสภาพอัตรากำลังและความก้าวหน้าทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จากพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในบทบาทของผู้เป็นศึกษานิเทศก์ ซึ่งในปัจจุบันบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่จะเข้ามาเป็นศึกษานิเทศก์มีจำนวนลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อการสนับสนุนการพัฒนาวิชาการในสถานศึกษาในภาพรวมทุกสังกัด รวมถึงมีการตั้งคำถามถึงบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงและความก้าวหน้าในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาสำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ขึ้น โดยได้เรียนเชิญที่ปรึกษาและผู้บริหารสำนักงาน ก.ค.ศ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอดีตศึกษานิเทศก์ ผู้แทนจากสมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย ตัวแทนศึกษานิเทศก์จากทุกสังกัดในกระทรวงศึกษาธิการ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น สะท้อนปัญหาจากการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์แต่ละส่วนราชการ และรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ต้องการให้สำนักงาน ก.ค.ศ. หรือส่วนราชการดำเนินการแก้ไข

เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า โจทย์หลักที่นำมาพูดคุยกันในวันนี้ ประกอบด้วย 4 สำคัญ ได้แก่ ภาพอนาคตของศึกษานิเทศก์ควรจะเป็นไปในทิศทางแบบใด สภาพปัญหาที่พบเจอในการปฏิบัติหน้าที่ สิ่งที่ต้องการปรับปรุง และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้นำความคิดเห็นและข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาและนำไปสู่การปรับแก้กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ฯ ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งเสริมความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่สนใจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ศึกษานิเทศก์มากขึ้น เพราะตำแหน่งดังกล่าวมีบทบาทที่สำคัญสำหรับการศึกษาไทย เปรียบเสมือนที่ปรึกษาด้านวิชาการและการจัดการเรียนการสอนให้แก่คุณครูทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียน อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาในภาพรวมต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments