เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)เปิดเผยว่า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยผู้เรียนอาชีวะที่จะต้องมีที่เรียนอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องซึ่งจากกรณีที่มีผู้ปกครองนักศึกษาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้องเรียนว่าทางวิทยาลัยได้เชิญผู้ปกครองนักศึกษาชั้น ปวช.1 – 2 และ ปวส.1 มาประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา  และแจ้งยุบปิดกิจการวิทยาลัยฯ กะทันหัน โดยอ้างว่ามีนักเรียนสมัครเข้าเรียนน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่าย และให้นักเรียนทั้งหมดหาที่เรียนใหม่ โดยได้ติดต่อวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีไว้ให้นั้น ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับรายงานเพิ่มเติมจากสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน(สอช.) ว่าวิทยาลัยเอกชนดังกล่าว ได้รายงานการดำเนินการ หลังจากประชุมชี้แจง ผู้ปกครอง ดังนี้

1. นักเรียนในระดับ ปวช.3 จบปีการศึกษา 2 รอบ คือ รอบแรก 28 คน และรอบสอง 24 คน

2. นักเรียนในระดับ ปวส. 2 จบปีการศึกษา 2 รอบ คือ รอบแรก 28 คน และรอบสอง 22 คน โดยจะรับใบระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) รอบแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป และรอบสองรับในวันที่ 15  พฤษภาคม  2567 เป็นต้นไป

3. นักเรียนกำลังเรียน ปวส.2 (จบ .6) จะต้องเรียนภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคเรียน และจบการศึกษาในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567

4. นักเรียนระดับ ปวช.1 ปวช.2 และ ปวส.1 ที่ยังไม่จบการการศึกษา ทางวิทยาลัย จะออก รบ. ศึกษาต่อให้นักเรียนทุกคนเพื่อไปสมัครเรียนต่อ ภายในวันที่ 16 เมษายน2567 หรือถ้านักเรียนต้องการ รบ. ก็จะทำหนังสือรับรองการศึกษาให้ก่อน ทั้งนี้ วิทยาลัยฯ มีความจำเป็นจะต้องจ้างครูบางส่วน เพื่อทำหน้าที่ส่งนักเรียนให้หมดทุกคน และได้ประสานไปยัง วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ และวิทยาลัยการอาชีพไชยา  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในการรับนักเรียนไปศึกษาต่อ โดยวิทยาลัยฯ จะปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567

เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องของการยุบปิดกิจการสถานศึกษาเอกชน นั้นทาง สอช. รายงานว่า เมื่อสถานศึกษาประสงค์ขอเลิกกิจการโรงเรียน จะต้องยื่นคําขอเพื่อขอรับการพิจารณาอนุญาตให้เลิกกิจการโรงเรียนในระบบ พร้อมด้วยเหตุผลต่อผู้อนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนสิ้นปีการศึกษา โดย สอศ.จะมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการเลิกดำเนินกิจการของสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาดำเนินดังนี้  กลุ่ม 1. ผู้ปกครอง นักเรียน และนักศึกษา  สถานศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองให้ชัดเจนว่า การประกาศเลิกกิจการมิใช่เป็นการเลิกกิจการทันที แต่โรงเรียนยังมีภารกิจในการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง ในเรื่องของเอกสารหลักฐานการศึกษา และการส่งต่อนักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาที่ประสงค์ไปสถานศึกษาแห่งอื่น กลุ่ม 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา การให้จ่ายเงินชดเชยแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งนี้ก็จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน .. 2552 ข้อ 32 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตนได้กำชับให้ สอช. สำรวจและรายงานข้อมูลสถานศึกษาที่ยื่นเรื่องขอหรือมีแนวโน้มที่จะปิดยุบเลิกกิจการ ให้ สอศ. ทราบเป็นรายเดือน เพื่อเตรียมรองรับผู้เรียนให้สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และดำเนินการตรวจสอบข้อมูลให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเรื่องเงินอุดหนุนสถานศึกษามีการพูดถึงในกรณีดังกล่าว นั้น สอศ. ได้มอบหมายให้ สอช.และ สอจ. เร่งตรวจสอบข้อมูลส่วนที่เป็นจุบันแล้ว ซึ่งพบว่าสถานศึกษามีจำนวนนักเรียนที่รับเงินอุดหนุน ปีการศึกษา 2566 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจำนวน 196 คน (ข้อมูล มกราคม 2567) การจ่ายเงินอุดหนุนมีหลักเกณฑ์คือ กรณีสถานศึกษาขอเลิกกิจการตั้งแต่ปีการการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ส่วนราชการจะดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนตามจำนวนนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริงจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567 ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล .. 2558 ซึ่งหน่วยงานทั้งสอช. และสอจ.จะต้องร่วมกันดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และรายงานให้ สอศ.ทราบอย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการแจ้ง ทำความเข้าใจ และหาที่เรียนให้กับกลุ่ม 1 ผู้ปกครอง นักเรียน และนักศึกษา ซึ่งสถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานดังกล่าว และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยื่นมายัง สอศ. ซึ่ง สอศ. ก็จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบและพิจารณาในเรื่องของการขอเลิกกิจการตามระเบียบต่อไปนายยศพลกล่าว

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments