เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ให้ความเห็นชอบให้ผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จำนวน 304 ราย และ ศึกษานิเทศก์ 813 ราย เข้ารับการพัฒนาก่อนการบรรจุและแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)กําหนด โดยมีเงื่อนไขหลัก คือ ในการพัฒนาต้องเน้นการสร้างองค์ความรู้เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาการทำงานในพื้นที่ ซึ่งจะต้องลงไปสัมผัสในตำแหน่งรองผอ.สพท. และ ศึกษานิเทศก์ ทั้งนี้ สพฐ.ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นหน่วยงานพัฒนา โดยเน้นการรับความรู้จากผู้บริหารและวิทยากร ในลักษณะ Project Base และ Problem Base เพื่อสร้างองค์ความรู้ 30% จากนั้นลงพื้นที่เพื่อทำ Project Base และหรือ Problem Base 60% ส่วนอีก 10% เป็นการสรุปองค์ความรู้และถอดบทเรียน รวมถึงพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่ง

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ตำแหน่งจะต้องมีการทำข้อตกลงในการเสริมความรู้ 3 เรื่องด้วย คือ 1. การพัฒนาภาษาอังกฤษ ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐานสากล หรือ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) 2. ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy จากสถาบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และ 3. การต่อยอด Project Base และ Problem Base สู่การพัฒนาในพื้นที่ที่ตนเองได้รับการแต่งตั้งเป็นเวลา 1 ปี

สพฐ.คาดหวังว่าการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้และติดดาบให้ รองผอ.สพท.และศึกษานิเทศก์ ได้ลงไปทำงานในพื้นที่โดยมีเป้าหมาย ที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ ทั้งนี้คาดว่าในส่วนของ รอง ผอ.สพท.น่าจะเริ่มเข้าสู่ระบบการอบรมได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ส่วนศึกษานิเทศก์ สพฐ.จะเร่งดำเนินการโดยเร็วเป็นลำดับต่อไป”ดร.อำนาจกล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments