เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2563 ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)วันที่ 17 เม.ย.นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะนำเรื่องการบริหารจัดการของสพฐ.ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นำเข้าหารือและขอคำเสนอแนะจาก กพฐ.ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ทางวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของสพฐ.มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยลำดับแรกเรื่องการรับนักเรียน เนื่องจากหลักเกณฑ์การรับนักเรียนได้ความเห็นชอบจาก กพฐ. แม้ว่าปฏิทินการรับนักเรียน การสอบเป็นอำนาจหน้าที่ของ สพฐ.แต่เนื่องจากมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องแจ้งให้ กพฐ.รับทราบด้วยว่าสพฐ.จะมีการเลื่อนเวลาหรือกำหนดเวลาในการสมัครสอบ โดยเฉพาะกลุ่มชั้น ม.1 และ ม.4 ซึ่งเป็นกลุ่มทั่วไปที่ยังไม่ได้ดำเนินการ รวมถึงระยะเวลาในการสอบด้วย

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้สพฐ.จะแจ้งเรื่องการเปิดภาคเรียนว่า สพฐ.ได้กำหนดให้โรงเรียนเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.ค. และภาคเรียนที่2 เทอมแรกจะไม่มีการปิดเทอม เพื่อชดเชยเวลาเรียนของนักเรียนที่ขาดหายไป และเทอมที่สองจะปิดเพียง 15 วัน ทั้งนี้การปิด-เปิด ดังกล่าวตนได้ให้โรงเรียนไปพิจารณาเองตามความเหมาะสม ซึ่งบางโรงเรียนอาจมีการยืดหยุ่นการปิด-เปิดโรงเรียนช่วงเทศกาลก็ได้ รวมถึงการแจ้งเรื่องการสอบโอเน็ต แกทแพท ด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะหารือที่ประชุมเรื่องการจัดซื้อแท็บเล็ตแจก เพื่อมารองรับการเรียนการสอนออนไลน์หรือไม่ ดร.อำนาจ กล่าวว่า ขอเรียนว่าการจัดระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ สพฐ.วางไว้คือ เรื่องของทีวี ที่ได้ประสานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคม และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ขอช่องทีวี 13 ช่อง และDLTVจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้สื่อของสพฐ.ที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก ส่วนการดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ตหรือซื้ออุปกรณ์ที่จะมารองรับการเรียนการสอนออนไลน์ หรือไม่นั้น เรื่องนี้เป็นนโยบาย ซึ่งเป็นภาพใหญ่ ถ้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีมติลงมาอย่างไร สพฐ.ก็พร้อมปฏิบัติ

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

1 Comment
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
อาคม
อาคม
4 years ago

ผมไม่ถามหรอกนะว่ามีนอกมีในไหม เพราะเป็นคนทำงานเช่นกัน การถามแบบนี้บางทีก็บันทอนกำลังใจคนทำงานนะ
เพียงแต่อยากทราบว่า ได้ให้สติ ความคิดไตร่่ตรอง สำรวจข้อมูลความเป็นจริงอย่างถ่องแท้แล้วใช่ไหมครับ
อย่าลืมว่านอกเหนือจากงบประมาณ (ซึ่งคือภาษีจากประชาชน) ที่ต้องเสียไปอย่างไม่คุ้มค่า ก็ยังมีเรื่องการเสียเวลา เสียโอกาศในการพัฒนาของเด็กๆ
ครู บุคลากรทางการศึกษา ต้องมาวุ่นวายกับการบริหารจัดการอุปกรณ์ (หายก็ไม่ได้ เสียก็โดน) แทนที่จะมีเวลาในการปรับวิธีการสอน วิธีการประเมินผลให้เข้ากับกิจกรรมการสอนที่จะต้องเปลี่ยนไป
อย่าลืมว่าปัญหาใหญ่ที่สำคัญกว่าการไม่มีเครื่องมือ (โทรศัพท์ แทบเล็ต ฯลฯ) คือโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่ทั่วถึงเพียงพอ ในขณะที่ยังมีการใช้งาน (ที่พร้อมๆกัน) ยังมีน้อยอยู่ ยังมีคนบ่นถึงความไม่ไหลลื่นของอินเตอร์เน็ต หากต้องใช้เพื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ในภาวะที่ถูกบังคับกลายๆ ให้ใช้เทคโนโลยีในการสอน ซึ่งคงต้องใช้กันอย่างมากมาย พร้อมๆกัน ระบบจะรองรับได้ไหม… นี่คือเรื่องสำคัญกว่าไหม? มีอุปกรณ์ มีเครื่องมือ จะก็ใช้ไม่ได้ ครูต้องว่นวายกับการจัดการระบบอีก
.
คิดผิด คิดใหม่ได้นะ