เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2563 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังการประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ(E5)และโครงการสานอนาคตการศึกษา(Connext ED)ว่า ที่ประชุมได้เสนอแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์และมาตรการสำคัญของโครงการ ซึ่งจะผูกกับการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเชื่อมโยงทั้ง 2 ส่วนให้ตรงกัน ว่า จะต้องพัฒนาไปในทิศทางใดบ้าง โดยมีแนวทางพัฒนาตามยุทธศาสตร์  5 หัวข้อ 9 แนวทาง ได้แก่  1.Transparency  การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ  แนวทางที่ 1.การสนับสนุนการพัฒนาระบบ School Managemet System ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยว เพื่อวัดผลอย่างโปร่งใส โดยจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบ พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดดารใช้งานอย่างจริงจังทั่วประเทศ

2.Market Mechanisms กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม  แนวทางที่ 2.สร้างเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมองค์ความรู้ดิจิทัลสู่โรงเรียนและชุมชน โดยจะขยายผลโครงการ ICT Talent พัฒนาทักษะดิจิทัลแก่โรงเรียนและชุมชน แนวทางที่ 3.สร้างแรงกระตุ้นในการดึงความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยนำเสนอ School Partner Model ในการสร้างความร่วมมือกับเอกชน และออกนโยบายให้ผู้นำแต่ละจังหวัดและเขตพื้นที่ร่วมผลักดัน แนวทางที่ 4.นำเสนอมุมมองเชิงบวกของการศึกษาแก่สังคม เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการศึกษา

3.High Quality Principals and Teacher การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  แนวทางที่ 5  ถอดองค์ความรู้โมเดลการสนับสนุนต่างๆ จากภาคเอกชน โดยจัดตั้งคณะทำงานร่วมถอดองค์ความรู้ต้นแบบกับภาคเอกชน เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับบริบทโรงเรียนทั่วประเทศ 6.ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเปลี่ยน ครูต้องปรับ หลักสูตรต้องแก้ไข ให้ก้าวทันศตวรรษที่ 21 โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาสมรรถนะครู ร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน

4.Child Centric & Curriculum เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ  แนวทางที่ 7.จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมการเรียนรู้ทุกห้องเรียน แนวทางที่ 8.สนับสนุนให้นักเรียนทุกคนเข้าถึง Online Learning Platform ให้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา

และ5.DIGITAL INFRASTRUCTURES การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา แนวทางที่  9.สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานให้ทุกโรงเรียน  โดยจัดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกโรงเรียน สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เข้าถึงแหล่งความรู้ทั่วโลก และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

นายณัฏฐพล กล่าวว่า เชื่อว่าวันนี้ภาคเอกชนมีความเข้าใจในแนวทางและเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น เพียงแต่ต้องการเห็นภาพที่ชัดเจนก่อน เช่น เมื่อรวมโรงเรียนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อจะได้ปรับแผนการสนับสนุนหรือแผนการลงทุนได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้มีการพูดถึงการระดมทุนทางออนไลน์ โดยจะเริ่มต้นที่ 31 โรงเรียนในโครงการ เพื่อให้สาธารณชนเห็นภาพโรงเรียนที่อยู่บนออนไลน์ หากมีผู้สนใจก็สามารถเข้าระบบไปสนับสนุนได้ โดยมีการออกแบบการเข้าระบบไว้รองรับ

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments