นางจิตโสมนัส  ชัยวงษ์ ผู้อํานวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี(วทษ.)นครราชสีมา  เปิดเผยว่า วทษ.นครราชสีมา เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมด 680 ไร่ โดยเปิดการเรียนการสอนใน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)และระดับปริญญาตรี แนวคิดเปิดบ้านเกษตรโคราชแฟร์ 2018 เพื่อเป็นจุดขายสินค้าเกษตรของนักศึกษา  ประชาชนที่ผ่านมาเที่ยวแถวนี้ก็จะมีอีกหนึ่งแหล่งขายสินค้า และสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามคอยให้บริการ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตร และมีบริการอาหารที่ทุกจานทำจากฝีมือของนักศึกษา และเกิดขึ้นจากฝีมือนักศึกษาที่ผลิตผลการเกษตรออกมาอย่างมากมาย ทั้งพืชไร่ ผักปลอดสารพิษ และดอกไม้หลากหลายชนิดที่ให้ประชาชนเข้ามาเช็คอิน

ผอ.วทษ.นครราชสีมา กล่าวต่อไปว่า ต่อไปนี้ วิทยาลัยเกษตรฯโคราช นอกจากจะเป็นอีกแหล่งเรียนรู้หนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นสถานศึกษาที่สอนนักศึกษาเป็นหลักแล้ว ก็จะมาเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรสำหรับประชาชน บุคคลภายนอก และประชาชนที่สัญจรไปมาหาสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ สามารถเข้ามาถ่ายรูปเช็คอินได้ โดยคุณครูของวิทยาลัยได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการศึกษา เมื่อเราได้เทคโนโลยีนั้นแล้วเราก็ต้องการที่จะกระจายความรู้ให้แก่พี่น้องประชาชนด้วย ทั้งในรูปของหลักสูตรระยะสั้น หรือ โครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท(กศ.อช.) ที่จะตอบโจทย์พี่น้องเกษตรกรหรือคนที่รักในการเกษตรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปพัฒนาพื้นที่ของตนได้

 

ด้านนางสิริกร แพงทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วทษ.นครราชสีมา กล่าวว่า เหตุผลของการเปิดบ้านเกษตรโคราชแฟร์ 2018 ครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาจำนวนนักเรียน ที่จะเข้ามาเรียนเกษตรน้อยลง ซึ่งค่านิยมของผู้ปกครองไม่อยากให้ลูกหลานมาเรียนเกษตร ขณะเดียวกันเด็กในเมืองก็คิดว่าเรียนเกษตรแล้วจน ลำบาก เราจึงคิดว่าเราต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสแล้ว โดยได้มีการประชุมร่วมกันหลาย ๆ ฝ่าย ว่าถ้าเราจะสร้างจุดขายให้คนมาเห็นแล้ว”ว้าว”จะทำอย่างไร ทำไมไม่คิดเหมือนภาคเอกชน เขาปลูกดอกไม้ ทำสกายวอล์ค ให้คนเข้าไปเช็คอิน ซึ่งวทษ.โคราช ซึ่งตั้งบนพื้นที่ที่เป็นทางผ่านของคนที่จะขึ้นไปเที่ยววังน้ำเขียว ซึ่งสถานที่ของเกษตรโคราชกว้างและก็เหมาะที่จะเป็นจุดเช็คอินอีกแห่งหนึ่ง

“เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว เราจึงให้ครูและนักเรียนทุกแผนกวิชามาบูรณาการร่วมกัน โดยฝ่ายวิชาการเป็นแม่งาน ให้เด็กเรียนรู้ทุกขั้นตอน เรียนแบบบูรณาการโดยไม่ต้องนั่งเรียนในห้องเรียน ครูก็ต้องหาวิธีให้เกิดความคิดมารวมที่จุดเดียวกันเป็นการบูรณาการข้ามวิชา เพื่อให้เกิดซิเนเจอร์ที่โด่ดเด่นใครมาเห็นแล้วร้อง”ว้าว”รองผอ.ฝ่ายวิชาการ วทษ.นครราชสีมา กล่าวและว่า เราสัญญาว่ามาเรียนเกษตรแล้วรวยจริง ๆ

 

 

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments