เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2568  .ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ศธ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ที่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โดยมีนายวิทยา เขียวรอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้บริการการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) นายณัฐวุฒิ  รัตนอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศคณะครู นักเรียน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคกล้าธรรม  ให้การต้อนรับ โดย .ดร.นฤมล กล่าวว่า การลงพื้นที่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ เพราะอยากมารับฟังปัญหาและเสียงสะท้อน ถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบาย ศธ. มีปัญหา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาหารือ วางแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ส่วนตัวเชื่อว่าชีวิตไม่มีความบังเอิญ มีอะไรบางอย่างกำหนดให้เราต้องมาเจอกัน ทั้งที่ไม่ได้วางแผนว่าจะมาเป็น รมว. ศึกษาธิการแต่เมื่อได้มาทำงานตรงนี้ ก็คิดว่า จะเข้ามาช่วยสานงานต่อจากที่อดีต รมว. ศึกษาธิการ และสิ่งที่ผู้บริหารศธ. ทำไว้แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็อยากจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ก้าวข้ามไปสู่ความสำเร็จไปให้ได้การลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการมอบนโยบาย แต่เป็นการรับฟังปัญหาและอุปสรรค  รวมถึงเสียงสะท้อนจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเรื่องแรก ที่อยากผลักดัน คือ วิชาประวัติศาสตร์และ หน้าที่พลเมือง ที่อยากฝากครูผู้บริหารการศึกษาให้ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ และขอแยกวิชาประวัติศาสตร์ และ หน้าที่พลเมือง ออกมาเป็นอีกหนึ่งวิชา โดยเฉพาะ เช่นเดียวกับหลายประเทศที่แยกวิชานี้ออกมา เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้เข้าใจหน้าที่ของตัวเองรมว.ศึกษาธิการกล่าว

.ดร.นฤมล กล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องที่ยังเป็นความทุกข์ของครูกว่า 5 แสนคน ซึ่งไม่ใช่เรื่องภาระครูแต่ยังเป็นเรื่องความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้าง ครูหลายหลายคนถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) ชี้มูล ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นจึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา(...) ช่วยหาคนมาทำหน้าที่นี้แทน เพื่อให้ครูไปโฟกัสกับการทำหน้าที่สอนและมีเวลาทำวิทยฐานะ ซึ่งถือเป็นโอกาส เติบโตในหน้าที่การงาน เพราะวิทยฐานะเป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้ปรับให้มีความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร แม้ระบบการประเมินในปัจจุบันจะมีข้อดี ที่มีการพิจารณาอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีเสียงสะท้อนออกมาว่ามีผู้ผ่านการประเมินน้อยลง ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้การประเมินวิทยฐานะง่ายขึ้น แต่อยากให้ผู้ที่เข้ามาประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเข้าใจงานด้านการศึกษาอย่างแท้จริง เรื่องนี้ ... ก็รับโจทย์ไปดำเนินการแล้ว

­รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การที่ครูมีวิทยฐานะสูงขึ้นไม่ใช่แค่ความภาคภูมิใจแต่หมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดภาระค่าครองชีพ และแก้ปัญหาหนี้สินครูที่ปัจจุบัน มีอยู่กว่า 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาสมัยรัฐบาลน..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการแก้ปัญหาโดยรวมหนี้ไว้ที่ธนาคารออมสิน แต่ปรากฏว่าครู ก็ไปก่อหนี้เพิ่ม โดยปัจจุบันมีหนี้อยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกว่า 9 แสนล้านบาท ทำให้เกิดความคิดที่จะตั้ง สหกรณ์กลางสำหรับครู ซึ่งได้หารือเบื้องต้นกับนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์(กษ.) ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการก่อตั้งสหกรณ์กลางให้ครูที่เป็นหนี้จากสถาบันการเงินต่างๆ ที่สมัครใจจะแก้หนี้ โอนหนี้เข้ามาที่สหกรณ์กลาง ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้น 0% และขยับตามขั้นแบบบันได ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 1 % และ2% โดยไปจบที่ไม่เกิน 4.5% ก็จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระครู ซึ่งปัจจุบันจ่ายดอกเบี้ยอยู่ที่ 6.5% โดยมีเงื่อนไขล็อกครูจะต้องไม่ไปก่อหนี้ที่ไหนอีก

ในสัปดาห์หน้าจะได้เห็นโมเดลที่เป็นรูปธรรมจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และดิฉันจะคุยกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อปลดล็อกกฎระเบียบให้สกสค. สามารถจัดตั้งสหกรณ์กลางได้ ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุนก็ไม่มีปัญหา เพราะได้เจรจาเป็นการภายในการธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะมีเงินทุนก้อนแรก ประมาณ 1 แสนล้านบาท มาช่วยแก้ปัญหาหนี้ครูในระยะแรกไปก่อน จากยอดหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ กว่า 9 แสนล้านบาท และถ้ามีความต้องการจนเต็ม 1 แสนล้านบาทคิดว่าจะไปขอความกรุณาจากรัฐบาล  นำเงินทุนที่ไม่ใช่แบงก์ของรัฐ แต่เป็นเงินจากกองทุนที่มีอยู่ของรัฐบาล เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) มาช่วย แต่ก็ต้องไปดูระเบียบข้อบังคับ ว่าจะสามารถทำได้หรือไม่.ดร.นฤมล กล่าวและว่า ถ้าเราเริ่มที่แสนล้านบาทได้จะเกิดเป็นแรงกระเพื่อมและทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทอของผู้ที่ก่อหนี้ด้วย โดยภายใน 3 เดือนน่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมและประกาศให้ครูลงทะเบียนได้  ทั้งนี้ คิดว่าน่าจะแค่ระเบียบของกรมส่งเสริมสหกรณ์ แต่ถ้าไม่ได้ก็อาจจะใช้แนวทางอื่น ซึ่งเราก็คิดเผื่อไว้แล้ว แต่ท้ายที่สุดเราจะแก้ปัญหาหนี้สินครูให้ได้ เพราะที่ผ่านมาทุกรัฐบาล ทุกรัฐมนตรีก็พยามแก้มาตลอดแต่ก็ยังไม่ทะลุ มาเราก็พยายามช่วยกันคิดว่าที่ผ่านมาทำแล้วติดปัญหาอย่างไรบ้าง ถ้าเขาทำนแล้วดีก็จะมาต่อยอดให้ทะลุให้ได้      

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments