จากการประชุมโต๊ะกลมไทย–รัสเซีย ครั้งที่ 1 เรื่อง ความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการวิจัย ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นเจ้าภาพ เมื่อเร็วๆนี้ รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะทำงานจัดการประชุมโต๊ะกลมฯ กล่าวว่า สหพันธรัฐรัสเซีย และ ราชอาณาจักรไทย มีความสัมพันธ์ทางการทูตมาอย่างยาวนานกว่า 150 ปี และเมื่อเดือนตุลาคม 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนรัสเซียเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ทำให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะนักวิชาการและสถาบันการศึกษาตระหนักถึงศักยภาพของรัสเซียในด้านการศึกษา วิจัย และการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษจึงเป็นที่มาของการจัดประชุมโต๊ะกลมครั้งนี้

ด้านดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ภายหลังการประชุมคุณหญิงสุมณฑาได้นำผู้ทรงคุณวุฒิจากสหพันธรัฐรัสเซีย และคณะทำงาน เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อกราบทูลรายงานการประชุม ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีรับสั่งว่า ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนสหพันธรัฐรัสเซีย และพบว่าที่ประเทศรัสเซียได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษเป็นอย่างมากทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ ดนตรี การแสดง และการกีฬา มีกระบวนการคัดกรองและส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง มีศูนย์พัฒนาผู้เรียน และครูที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านหลักสูตร วัสดุ อุปกรณ์ และวิทยากรที่มีความสามารถสูง และได้ขยายไปสู่ความร่วมมือของชุมชนและครอบครัว ซึ่งจะต้องช่วยกันดูแลอย่างจริงจังร่วมกับภาครัฐ

เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชดำริ ว่า ในการประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย เกี่ยวกับผู้มีความสามารถพิเศษในครั้งต่อๆไปให้พิจารณาทั้งในเชิงเจาะลึกบางสาขาวิชา และ ศึกษารูปแบบการบูรณาการเนื้อหาสาระสำคัญต่างๆ ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน ในส่วนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงรับสั่ง ว่า น่าจะเป็นการเรียนรู้ หรือ พัฒนาแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษที่มีที่มาจากต่างโรงเรียน หรือ มาจากประเทศที่ต่างกัน ได้ร่วมกันเรียนรู้เป็นทีมเดียวกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งทางด้านภาษา และสัญชาติ เพราะผู้เรียนจะมีวิธีการสื่อสารกันเอง เพื่อความสำเร็จของทีม และควรนำเทคโนโลยีดิจิทัล แอพพลิเคชั่นต่างๆมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างสถานที่ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น

“ภายหลังการประชุมโต๊ะกลมไทย – รัสเซีย ครั้งที่ 1 วันที่ 18-19 ส.ค.ที่ สถาบันวิทยสิริเมธีและโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อร่วมมือกันทางด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการวิจัย 2 ฉบับ ระหว่าง สถาบันวิทยสิริเมธี กับ Skolkovo Institute of Science and Technology หรือ Skoltech และระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับ Skoltech นอกจากนี้ได้มีการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เรื่องการส่งเสริมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ระหว่าง สวทช.กับ Saint Petersburg State University และ การเจรจากันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับ Saint Petersburg State University เพื่อนำไปสู่การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันด้วย”ดร.ชัยพฤกษ์กล่าวและว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้มีความสามารถพิเศษค่อนข้างมาก หากมีระบบคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะเป็นคุณประโยชน์อย่าง

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments