เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2565 ​ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)  เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)  มอบหมายให้แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา และสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 4.0 (อากาศยานซึ่งไม่มีคนขับ Drone Technology) หลักสูตรการซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Maintenance of Drone) ซึ่งนับเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตาม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต เกษตรกรรมยุคใหม่ มุ่งสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยนอกจากนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนมาช่วยการถ่ายภาพมุงสูงแล้ว ปัจจุบันได้นำมาใช้งานด้านเกษตรกรรม เพื่อช่วยเกษตรกรดูแลโรคพืช วิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเจริญเติบโตของพืชให้ตรงจุด โดยติดตั้งเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เช่น ระบบเซนเซอร์ต่าง ๆ ระบบ GPS เข้าไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโดรนให้สูงขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาครูในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ดี และมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา และชุมชนต่อไป

​ด้าน ดร.สุกัญญา สุขสถาน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครนายก กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดอาชีวศึกษาร่วมกับ นายสมเกียรติ อู่เงิน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) นายอุทัย คิวรักษาวงศ์ นายกสมาคมอากาศยานเพื่อการทดลองไทย นางสาวรัตนา ยานะบุตร กรรมการห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เจ.พิพัฒน์เจริญ ออโต้ พาร์ท นายนฤพงษ์ วัฒนไชย ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท ออโตบอทส์ เซอร์วิส จำกัด นายจะเด็ด พวงมะเดื่อ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิคคลูด โซลูชั่น จำกัด และ นายฉัตรชัย สมิธการณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทออโต้ ไดแด็กติก จำกัด โดยมี ดร. สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ฝึกทักษะการถ่ายภาพที่มองเห็นจากมุมสูง และการทำแผนที่ เงื่อนไขการบังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน (โดรนเพื่อการเกษตร) ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎการบิน ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีบักบิน (โดรนเพื่อการเกษตร) เข้าใจในองค์ประกอบ และการทำงานของระบบการทำงาน ของอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรนเพื่อการเกษตร) และการบังคับโดรนด้วยมือ รวมทั้งสร้างความเข้าใจในวิธีการประมวลภาพด้วยซอฟท์แวร์ในการทำแผนที่ภาพถ่าย และสามารถปฏิบัติงานการทำแผนที่ด้วยโดรนได้ โดยครูที่ผ่านการประเมินผล จะได้รับเกียรติบัตรรับรองจากทางสมาคมอากาศยานเพื่อการทดลองไทย (TAA) เป็นผู้ผ่านการทดสอบอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรนเพื่อการเกษตร)

​ทั้งนี้ ครูที่ได้รับการฝึกอบรม จะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่นักเรียน นักศึกษา และชุมชน เกี่ยวกับการใช้งานขั้นพื้นฐานของโดรน และอุปกรณ์ต่าง ๆ (โดรนเพื่อการเกษตรที่ประกอบในประเทศไทย DIY และ โดรน DJI) ข้อบังคับ/ระเบียบกฎหมาย/พระราชบัญญัติการเดินอากาศและอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน การถอด และประกอบชิ้นส่วนโดรนเพื่อการเกษตรทุกชิ้น การบินโดนเพื่อการเกษตร รวมทั้งการใช้โปรแกรม และทดสอบการบิน เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments