ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวในการประชุมวิชาการระดับชาติ “2 ทศวรรษแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษาประจำปี .. 2566 เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่23 สมศ. โดยเป็นการบรรยายในหัวข้อแนวคิดและทิศทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายหลังสถานการณ์โควิด-19” ว่า ตั้งแต่ช่วงเดือน .. 2564 ที่ผ่านมา สมศ. ได้เริ่มพัฒนากรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก โดยได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รวมถึงลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค หลังจากนั้นได้เสนอกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบฯ และคณะกรรมการ สมศ. เพื่อประกาศกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกต่อไป

ดร.นันทา กล่าวว่า ในปีนี้ สมศ.ได้จัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ .. 2566 โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ไตรมาส ได้แก่ ไตรมาสที่ 1 ดำเนินการปรับปรุงเครื่องมือการประเมินคุณภาพภายนอก1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พร้อมกำหนดวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก ไตรมาสที่ 2 รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พร้อมประกาศกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกใหม่สำหรับปี .. 2567  ไตรมาสที่ 3 พัฒนาระบบการคัดเลือกและสรรหาผู้ประเมินภายนอก ฝึกอบรมและพัฒนาผู้ประเมินภายนอก ทดลองประเมินนำร่อง KM/PLC ผู้ประเมินภายนอก ทดลองประเมินนำร่อง 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)  และไตรมาสที่ 4 ทดลองประเมินนำร่อง 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และจัดทำรายงานสรุปผลเสนอต่อคณะกรรมการสมศ.

สำหรับแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก ปีงบประมาณ .. 2567 สมศ. ยังคงให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาการยกระดับคุณภาพ(Quality Improvement) โดยกำหนดวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา (วิธีการ (online/onsite) และจำนวนวันประเมิน (1-3 วัน) แตกต่างกันตามบริบทสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการประเมินตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตลอดจนการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดภาระของสถานศึกษาให้มากที่สุดดร.นันทา กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments