ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า ในการดำเนินการโครงการเพิ่มประสบการณ์ชีวิตสร้างมิตรภาพ “เรียนร่วมภาษาและวัฒนธรรม” ในต่างประเทศ ปีการศึกษา 2565 หรือ Language and Culture Exchange Program 2023 ของสำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน มบส. ได้คำนึงถึงการพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการทั้งระบบ โดยแบ่งเป็นกิจกรรม 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 กิจกรรมต้นน้ำ วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านภาษาก่อนเดินทางไปต่างประเทศ โดยเน้น 3 ภาษาเป้าหมายคือ ภาษาอังกฤษ จีน และเกาหลี ระยะที่ 2 กิจกรรมกลางน้ำ เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาเข้าเรียนร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2566 โดยนักศึกษาจะใช้เวลาเข้าไปเรียนร่วมประมาณ 2 สัปดาห์ในมหาวิทยาลัยต่างๆดังนี้1.National Pingtung University (NPTU), Taiwan, 2.Nanyang Polytechnic (NYP), Singapore, 3.Hainan College of Foreign Studies (HCFS), China, 4.Guangxi Minzu University (GXUN), 5.Universitas Mahasaraswati Denpasar ,6.Dong-Ah Institute of Media and Art (DIMA), South Korea, 7.Dong-Ah Institute of Media and Art (DIMA) (Korean Language), South Korea ,8.Dong-Ah Institute of Media and Art (DIMA) (Film),South Korea และ9.Hanyang University, (HYU), South Korea

ผศ.ดร.ลินดา กล่าวต่อไปว่า ส่วนระยะที่ 3 กิจกรรมปลายน้ำ เป็นกิจกรรมที่เน้นผลสำเร็จของการเข้าร่วมโครงการฯ ตลอดจนการถอดบทเรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดทักษะที่ดีในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีงามของนานาประเทศ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตและเปิดโลกทัศน์ ให้แก่นักศึกษาของ มบส. รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์และเพิ่มคุณค่าแก่นักศึกษาด้านภาษาและการสื่อสารด้วย สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศในช่วงต่างๆ

ด้าน ดร.กุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน มบส. กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของ ผศ. ดร.ลินดา ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาโดยตรงทำให้นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์ สร้างประสบการณ์จริงกับประเทศเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเพิ่มพูนทักษะการสื่อสารภาษาที่สอง ตลอดจนการไปเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตของเจ้าของภาษา ทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ส่วนประโยชน์ทางอ้อมเป็นการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ มบส. ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศในอาเซียนโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้รับความรู้นอกเหนือตำราในห้องเรียน เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง พัฒนาบุคลิกภาพ ที่สำคัญคือ ความมั่นใจในการใช้ภาษาและการปรับตัวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ดียิ่งขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในอนาคตอย่างมั่นใจ.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments