เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นหัวหน้าคณะนำทีมประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสุดยอดทักษะ 2024 (Skills Summit 2024) ซึ่งจัดโดย The Organisation for Economic Co-operation and
Development (OECD) ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ พระราชวัง palais des Académies กรุงบรัซเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจาก 39 ประเทศเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวต่อไปว่า ในพิธีเปิดมีนายกรัฐมนตรี อเล็กซานเดอร์ เดอ โกรแห่งเบลเยี่ยมให้เกียรติเปิดการประชุม โดยมีนายมัทธิอัสคอร์แมน เลขาธิการ OECD นายโจ บราวน์ส รัฐมนตรีเฟลมมิชเพื่อเศรษฐกิจ นวัตกรรม งาน เศรษฐกิจสังคมและเกษตร (Flemish Minister for Economy, Innovation, Work, Social Economy and Agriculture) และคริสตี มอร์เรียล รองประธานเขตวอลลูนและรัฐมนตรีด้านการจ้างงาน ฝึกอบรม สุขภาพ สังคม และโอกาสเท่าเทียมและสิทธิสตรี (Vice-President of the Walloon Region and Minister of Employment, Training,
Healthcare, Social Action, Equal Opportunities and Women’s Rights) ได้กล่าวถ้อยแถลงถึงความสำคัญของการพัฒนาประชากรให้มีทักษะเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก

ทั้งนี้ ดร.อรรถพล ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงการปรับปรุงทักษะ (Up-skills & Re-skills) ที่จำเป็นสำหรับอนาคต และมาตรการดำเนินงานของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Mega Trends) อาทิ ทักษะแรงงานที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital transition) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green transition) ซึ่งในห้วงเวลาก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการประเทศไทย ได้พยายามดำเนินการในด้านการพัฒนาทักษะในระดับนโยบายและปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือที่แข็งแกร่งในภูมิภาค ได้ระดับมาตรฐานสากลขององค์การ OECD และจากการที่รัฐบาลไทยมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนโมเดลรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบ BCG Economy Model ส่งผลให้ต้องเตรียมเพิ่มทักษะ STEM และดิจิทัลให้แก่คนไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการพัฒนาประเทศไทย

“ผมในนามตัวแทนประเทศไทย ขอขอบคุณ ที่ OECD ที่ได้เชิญสภาการศึกษาร่วมประชุมด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และทักษะของสมาชิก OECD 38 ประเทศ รวมถึงได้ประสานงานกิจการต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดย Directorate of Education and Skills เสมอมาอันเป็นการสร้างสะพานสู่โอกาสใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน” ดร.อรรถพล กล่าวและว่า ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้เป็นไปเพื่อขับเคลื่อนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี และเพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านโครงการ PISA ตามนโยบายของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในการนี้ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา ได้พบกับ Mr.Andreas Schleicher ผู้อำนวยการด้านการศึกษา และทักษะ และที่ปรึกษานโยบายการศึกษาของเลขาธิการขององค์การ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD โดยได้มีการแลกเปลี่ยนและเชิญ
เข้าร่วมการประชุมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับคะแนน PISA เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการวิเคราะห์ผลจากการสอบ PISA และการนำผลการจากการวิเคราะห์ไปใช้ในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม 2567 อีกด้วย

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments