เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ดร.อำนาจ  วิชยานุวัติ  เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ได้เชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ผู้แทนจาก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือOECD  ธนาคารโลก ผู้แทนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และผู้แทนจากภาคเอกชน   มาหารือรายละเอียดเพื่อปรับแผนการศึกษาแห่งชาติ  ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19  โดยถอดบทเรียนจากการเรียนในช่วงสถานการณ์วิกฤต ทั้งเรียนออนไลน์  ออนแอร์ และการเรียนในห้องเรียน รวมถึงการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ปรับจากความการศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เรียนจบแล้วมีงานทำ

เลขาธิการ สกศ.  กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้จะเชิญสภานักเรียน และสภานิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่  รวมถึงภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน ท้องถิ่น  และผู้ปฏิบัติ อย่างครู อาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา มาให้ความเห็นว่า ต้องการให้การศึกษาไทยพัฒนาไปในทิศทางใด โดยจะดำเนินการสอบถามความเห็นใน 4 ภูมิภาค  ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม  ก่อนสรุปประเด็นรวบรวม เป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม พร้อม ๆ กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ รอบปีงบประมาณ 2565

“แผนการศึกษาแห่งชาติ ครั้งนี้จะใช้  5 ปี ไม่ใช่แผนตลอดชีวิต เพราะการศึกษาทุกวันนี้ต้องมีความยืดหยุ่นและทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์โลก ตอบโจทย์ของสังคม อย่างไรก็ตามแม้จะเปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ ก็คิดว่า ไม่มีผลกระทบมากนัก เพราะการประชุมแต่ละครั้งจะมีบอร์ดบริหาร ซึ่งมาจากภาคส่วนต่าง ๆ เป็นผู้ให้แนวทาง แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอฟังนโยบาย รมว.ศึกษาธิการ คนใหม่ ก่อนว่าจะมีอะไรปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร”ดร.อำนาจ กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments