ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)เปิดเผยภายหลังการ เป็นประธาน การประชุมกอปศ.เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ว่าที่ประชุมได้พิจารณา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งในแผนที่ 12 จะมีแผนประเทศด้านการศึกษา และมีรัฐธรรมนูญรองรับ โดยที่ประชุมเห็นว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกนี้ 6 ประเด็น

     “การปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต้องใช้เวลา เพราะต้องการได้ผลที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ใน 9 เดือนข้างหน้า ใน 6 ประเด็นนี้  ที่จะต้องรีบทำ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่จะตามมาจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ จะต้องดำเนินการต่อไป”ประธานกอปศ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาตอนนี้คือเรื่องของงบประมาณ 3.5 แสนล้าน ที่ทุ่มลงไปกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่จะเป็นงบฯของงบบุคลากร ดังนั้นเรายังมีช่องทางที่จะสามารถลดหรือเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่การจะไปปรับเรื่องบุคลากรเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ซึ่งเราก็ต้องหาวิธีเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กให้มากที่สุด และหลังจากวันที่ 13-14 สิงหาคมคณะกรรมการฯได้ทบทวนแผนฯทั้งหมดแล้วก็จะขึ้นเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น จากนั้นคาดว่าต้นเดือนกันยายนก็จะสามารถเสนอรัฐบาลพิจาณาได้

     รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า  ในเรื่องของแผนปฏิรูปด้านการศึกษาจะจับประเด็นปฏิรูปการศึกษาที่ได้รับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการฯได้ดำเนินการในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็น 6ประเด็น โดยอาศัยกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 เป็นหลัก คือ 1.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย หรือ เด็กก่อนวัยเรียน ได้จะมีเรื่องปฏิรูปซึ่งเป็นประเด็นย่อย 2.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งประเด็นย่อยจะมีอยู่หลายเรื่องทั้งในแง่ของเด็กที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือเด็กที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของกองทุนการศึกษา ว่าจะมีการขับเคลื่อนไปอย่างไร เรื่องของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีช่องว่างหรือมีประเด็นที่มีความเหลื่อมล้ำเรื่องการศึกษาคุณภาพ 3.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับครู ทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิตการ การคัดกรองผู้ที่มีความเหมาะสม การพัฒนาครู การดูแลเรื่องวิชาชีพครู 4.เรื่องการปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องมีการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องของหลักสูตรฐานสมรรถนะ สถาบันหลักสูตร ดิจิตอลแพลตฟอร์ม 5.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อจะสนับสนุนการปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งมีหลายเรื่องที่เป็นกลไกของโครงสร้างที่สำคัญที่จะมีการปฏิรูป เช่น เรื่องของการศึกษา ที่มีความเป็นอิสระ ข้อเสนอที่เกี่ยวกับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ การเตรียมระบบของส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลบิ๊กด้าด้านการศึกษา รวมถึงระบบงบประมาณที่สนับสนุนการศึกษาที่จะมีในอนาคต และ 6.เรื่องพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งในนั้นจะมีกลไกสำคัญหลายเรื่อง เป็นต้น

     ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า  ในแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้ดูข้อมูลอย่างน้อย 4 ส่วน คือ 1.จากรัฐธรรมนูญมาตรา 54 และ 258 จ. 2.ยุทธศาสตร์การศึกษาชาติทั้ง 6ด้าน ที่มีทำอยู่แล้ว ก็จะดูว่าแต่ละยุทธศาสตร์ได้พูดถึงเรื่องการศึกษาอย่างไรบ้าง 3.แผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน และ 4.นโยบายของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ก็จะนำมาประกอบกันเป็นแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ซึ่งประธานกอปศ.กำหนดไว้ว่าจะไม่เขียนอะไรมาก จะเขียนไว้ในแผนเฉพาะประเด็นปฎิรูปใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจะออกมาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก 9 เดือน ระยะที่สอง 3 ปี และระยะที่สาม 5-10

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments