ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ทำความร่วมมือกับ นายชู เชียน (Mr.Qu Qian) รองนายกเทศมนตรีนครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน, นายเติ้ง รุ่ง (Mr.Deng Rui) รองผู้อำนวยการคณะกรรมการการศึกษาฉงชิ่ง และคณะ เข้าพบเพื่อประชุมหารือความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนครฉงชิ่งและประเทศที่อยู่ในแนว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road) โดยมีคณะผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการร่วมหารือด้วย
     ดร.สุเทพ กล่าวว่า นครฉงชิ่ง ได้ร่วมมือกับไทยในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ด้านโลจิสติก และระบบราง โดยนครฉงชิ่งได้ตั้งศูนย์ประสานงานการอาชีวศึกษาไท-จีน ขึ้นที่จีน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี และอยากให้มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และมีการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาในสาขาต่างๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และจะร่วมมือในสาขาการท่องเที่ยว ที่วิทยาลัยเทคนิคบางแสน จ.ชลบุรี ด้วย และหวังว่าจะได้ร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนในสาขาต่าง ๆเพิ่มมากขึ้นด้วย
     Mr.Qu Qian กล่าวว่า ตนยินดีที่ได้มีโอกาสพบเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือในครั้งนี้ นครฉงชิ่ง เป็นเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งเดียวในภาคตะวันตกของจีน ปัจจุบันมีประชากรกว่า 33 ล้านคน เป็นเมืองที่ประกอบไปด้วยภูเขาและแม่น้ำ อยู่ริมแม่น้ำแยงซี และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3 พันปี ซึ่ง นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีประชาชนจีน ก็ได้มอบนโยบายให้กับเมืองฉงชิ่ง จึงหวังว่าความร่วมด้านการจัดการศึกษาครั้งนี้จะดำเนินไปด้วยดี
     ขณะที่ Mr.Deng Rui  กล่าวว่า ปัจจุบันเมืองฉงชิ่งมีสถานศึกษา ระดับสูง จำนวน 72 แห่ง โดย 25 แห่งเปิดการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาจำนวน 1.2 ล้านคน และมีสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา จำนวน 50 แห่ง และมีนักเรียน นักศึกษา กว่า 5 แสนคน โดยสถานศึกษาทุกแห่งจะมีการจัดการเรียนการสอนด้านการคมนาคม การเกษตร ด้านการสื่อสาร และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และ เมื่อเดือนเมษายน 2561ที่ผ่านมา ได้มีพิธีเปิดศูนย์ประสานงานอาชีวศึกษาไทย-จีน ขึ้นที่สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวิทยาลัยในจีนเข้าร่วมทั้งหมด 19 แห่ง และวิทยาลัยในไทยเข้าร่วมอีก 23 แห่ง การจัดตั้งศูนย์ฯก็เพื่อตอบรับนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) เพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษา รวมถึงบุคลากรด้านอาชีวศึกษา และการร่วมมือกับประเทศไทย ก็เพื่อพัฒนาและสร้างคนที่ภายใต้สโลแกน “รู้ภาษาจีน รู้ทักษะอาชีพ และรอบรู้ด้านวัฒนธรรม” ถือว่าศูนย์ประสานงานอาชีวศึกษาไทย-จีน จะเป็นเวทีในการกระชับความร่วมมือและพัฒนาความร่วมมือตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางโดยเฉพาทิศใต้ของจีน และก็หวังว่าสถานศึกษาของไทยและจีนจะกระชับความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นและยั่งยืนในด้านทักษะวิชาชีพและด้านการเรียนการสอน นอกจากนี้รัฐบาลและเมืองฉงชิ่งยังให้ทุนการศึกษาสนับสนุนเมื่อนักเรียนไปเรียนอยู่ที่เมืองฉงชิ่งด้วย
     “เมืองฉงชิ่ง อยากร่วมมือกับประเทศไทยในการพัฒนาผู้เรียนในด้านบริการ การท่องเที่ยว รวมถึงด้านอาหารไทย และภาษาไทย เพราะก่อนที่นักเรียนจีนจะเดินทางมาไทยก็จะต้องรู้ภาษาไทย จึงหวังว่าจะมีอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยไปให้ความรู้แก่นักเรียนที่ประเทศจีน และทางการจีนหวังว่านักเรียนของจีนจะได้มีโอกาสเดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ประเทศไทยด้วย และก็อยากให้ไทยร่วมกับสถาบันขอจื้อในไทย พัฒนาภาษาจีนให้กับนักเรียน นักศึกษาก่อนเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนด้วย ทั้งนี้หวังว่าศูนย์ประสานงานการศึกษาไทย-จีน จะมีการจะทำงานที่เป็นรูปธรรม และหวังว่าผอ.สถานศึกษาจะผลักดันให้นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมโครงการต่างๆที่ประเทศจีนได้จัดให้และมีโอกาสได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศจีน และหวังว่าความร่วมมือจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”Mr.Deng Rui
     นายพลฤทธิ์ จินดาหลวง รองผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ในฐานะรองประธานศูนย์ประสานงานการศึกษาไทย-จีน กล่าวว่า ภายหลังมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาชีวศึกษาไทย-จีน ขึ้นเมื่อเดือนเมษายน แล้ว ก็ได้มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาของไทย อาทิ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี. วิทยาลัยเทคนิคบ้านไผ่วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เร่ิมจัดส่งนักเรียน นักศึกษาไปเรียนในสาขาการบัญชี สาขาโลจิสติกส์ สาขาระบบราง สาขาขวบคุมและซ่อมบบำรุงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยต่างๆที่เมืองฉงชิ่งแล้วประมาณ 150 คน ระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี และขณะวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย อยู่ระหว่าติดต่อประสานงาน เพื่อไปศึกษาในสาขาวิชาระบบความปลอดภัยจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
++++++++++++++++

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments