เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 วันที่ 7 กรกฎาคม 2568 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครบรอบ 22 ปี โดย มี ผศ.ดร.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ และ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และผู้บริหารของ สพฐ. รวมถึงข้าราชการและบุคลากรของ สพฐ. เข้าร่วมพิธี ณ อาคารสามัญ 99 สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ

โดย ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า ตนเองถือเป็นผลผลิตของ สพฐ. เพราะจบจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ.เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ก่อนจะเป็น สพฐ. แลเชื่อว่าส่วนใหญ่ก็เป็นผลผลิตของ สพฐ. เช่นกัน เพราะฉะนั้นเวลาคนมาบอกว่า การศึกษาไทย ไม่ได้เรื่อง ใช้ไม่ได้ โดยส่วนตัวไม่เคยเชื่ออย่างที่พูดกัน เพราะเราได้พิสูจน์ด้วยตัวเองแล้วว่า เรียนจบโรงเรียน สพฐ. สอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ แล้วก็สอบชิงทุนไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ประเทศ โดยสอบได้คะแนนสูงกว่านักเรียนต่างชาติ สามารถเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกได้ เพราะฉะนั้นจึงเชื่อเสมอว่าการศึกษาไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ถามว่ายังมีจุดที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามี ซึ่งทุกคนก็มีอยากทำให้การศึกษาไทยดีขึ้น แต่ก็ทราบว่ามีอุปสรรค และ ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือทรัพยากรที่เราจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกัน และในการทำงานส่วนตัวไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนก็ไม่อยากให้การบริหารงานเป็นแบบนายกับลูกน้อง อยากให้เป็นครอบครัวเดียวกัน มีอะไรก็ปรึกษาหารือกัน เข้าอกเข้าใจกันจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอชื่นชมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถึงรัฐมนตรีที่ผ่านมาทุกท่านไม่ว่าจะเป็น รมว.ศึกษาธิการ หรือ รมช.ศึกษาธิการ เพราะถือว่าเป็นผู้มีคุณาปการในการช่วยพัฒนาการศึกษาไทยมาถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นไม่ว่ารัฐมนตรีท่านก่อน ๆ ได้มอบนโยบายไว้  แล้วทำสิ่งที่ดีให้กระทรวงศึกษาธิการ ก็จะดำเนินโยบายเหล่านั้นต่อ แต่ก็มีสิ่งที่อยากเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะ สพฐ. เรื่องแรก คือ เรื่องภาระงานของครู ซึ่งจะลงในทางปฏิบัติมากขึ้นว่าจะลดภาระงานการเงิน งานพัสดุให้แก่ครูได้อย่างไร เพื่อให้ครูได้มีเวลาพัฒนางานของตัวเองแล้วมุ่งไปที่งานสอนได้มากขึ้น งานที่สองที่อยากดูแลเพิ่มเติม คือ สวัสดิการของครู ซึ่งต้องฝากให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุลากรทางการศึกษา(สกสค.)เข้ามาช่วยดูแล้ว เพื่อให้ครูมีสวัสดิการที่เหมาะสม ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังการทำภารกิจหลักของตนเอง นอกจากนี้ก็มีเรื่องวิทยฐานะที่จะต้องหารือกับ ดร.ธนู ขวัญเดช เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เพิ่มเติมต่อไป

“ ส่วนเรื่องของนโยบายอื่น ๆ ได้คุยกับ ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ บ้างแล้วว่า ไม่อยากทำอะไรที่ออกจากส่วนกลางโดยที่ครูไม่ได้มีส่วนร่วม  เพราะมีครูที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงร่วม 5 แสนคน ก็อยากให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนด้วย จึงฝากให้ปลัด ศธ. และ เลขาธิการ กพฐ. ทำงานร่วมกันเพื่อให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและรับฟังพื้นที่ รวมถึงผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกรรมาธิการการศึกษา สส.ในสภาฯ ที่มีข้อเสนอด้านการศึกษามากมายแล้วค่อยมาตกผลึกว่าจะทำอะไรในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว เนื่องจากดิฉันเป็นนักการเมืองมาแล้วก็ไป แต่ข้าราชการต้องอยู่กับภาคการศึกษาไทยอีกนาน” ศ.ดร.นฤมล กล่าวละว่า ตนได้รับฝากให้มาดูแลเรื่องวิชาประวัติศาสตร์ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งทราบว่าเมื่อปี 2566 มีการออกประกาศของกระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว แต่อยากให้มีการเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ที่ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นความสำคัญว่า เราจะต้องรู้ที่มาที่ไปของประเทศ ที่มาที่ไปของระบอบการปกครองของเรา รวมถึงรู้หน้าที่ว่าภายระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ทุกคนต้องมีหน้าที่อย่างไร จะได้สามารถทำหน้าที่ของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่ดียิ่งขึ้นไป

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า สุดท้ายเรื่องของหลักสูตรแกนกลางที่ สพฐ.ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นไปได้อยากให้ดูบริบทของพื้นที่ด้วยว่า ความต้องการความรู้พื้นฐานของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร อย่างเช่นบางพื้นที่เป็นที่พี้นที่เกษตรกรรม ก็อยากต้องมีความรู้ด้านการเกษตร ความรู้เรื่องดิน การพัฒนาดิน ซึ่งในหลวง ร.9 ทรงทำเรื่องดิน มีความรู้เรื่องดินมากมาย ถ้าเราจะบูรณาการกับกระทรวงเกษตรฯ เขาก็มีหมอดินอาสาทั่วประเทศที่พร้อมจะมาเป็นครูให้ได้ ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ มีความรู้ในการเรื่องการพัฒนาดิน พัฒนาพื้นที่เกษตรได้

 

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments