เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร(กพด.)ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564  “41 ปี ด้วยพระเมตตาแห่งการศึกษาพัฒนาวิชาการจริยธรรม งาน กพด.” ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.สุภัทร จำปาทองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อัมพร พินะสาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ดร.สุรศักดิ์ อินศรีไกร เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) ผู้บริหารระดับสูง และข้าราชการหน่วยงานต่าง เฝ้ารับเสด็จฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงบรรยาย เรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนหลังโควิด-19”ว่า ตั้งแต่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จนเกิดสถานการณ์โควิด 2019  การทำงานมา 50 ปี ไม่เคยเห็นนักเรียน เรียนยากอย่างนี้โรงเรียนก็ปิด เข้าโรงเรียนไม่ได้ การเดินทางก็ยากลำบาก แต่ก็ไม่ได้เดือดร้อนเฉพาะประเทศไทย ต่างประเทศก็ลำบากยิ่งกว่าเรา ดังนั้นทุกคนต้องปรับตัว

การพัฒนาการศึกษาที่สมดุลมี 4 ด้าน คือ 1.พุทธิศึกษา หมายถึงวิชาการด้านต่างๆ  2.จริยศึกษา เรื่องของคุณงามความดี ความคิดดี ซึ่งจริยศึกษาที่สำคัญและต้องสอน คือเรื่องความซื่อสัตย์ 3.หัตถศึกษา หรือการศึกษาที่ใช้มือหยิบจับ การทำงานช่างต่าง และ4.พลศึกษา เพื่อให้ร่างกายและสมองแข็งแรงมีกำลัง ไม่ใช่มีแต่ความรู้ไม่มีพลังก็ไม่มีประโยชน์  อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหา เรื่องคนที่ฟังและพูดภาษาไทยไม่ได้  ซึ่งก็ต้องแก้ปัญหาเรื่องฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ช่วงโควิดก็ฝึกยาก ดังนั้นครูก็ต้องหาวิธีการใหม่ มาฝึกให้เด็กอ่านเขียน และต้องเอาจริงเอาจังกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหา คือ เรื่องโภชนาการและสุขอนามัย ที่พบว่าในช่วงที่เกิดโควิด 19 ปี2562-2564 เด็กแรกเกิด-3ปี น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ในบางกลุ่มและบางพื้นที่ โดยมีสาเหตุจากภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งเรื่องนี้ต้องช่วยกันดู ต้องคุยกับครูเกษตรด้วยว่าอาหารประเภทไหนที่จะเป็นประโยชน์กับเด็ก

ปัญหาที่พบในการเรียนออนไลน์ คือ ครูขาดทักษะในการสอนออนไลน์ ซึ่งจะโทษครูไม่ได้เพราะเป็นเรื่องใหม่ ก็ต้องมาหารือกันว่าจะทำอย่างไร อย่างสื่อ60 พรรษาสมเด็พระเทพรัตนราชสุดาฯ สำหรับระดับประถมศึกษา และสื่อ 65 พรรษาฯ สำหรับระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีอยู่ในถุงยังชีพเพื่อการศึกษาพระราชทานก็ช่วยได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19  สรุปคือ หลังโควิดต้องมีการปรับขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการฟัง อ่าน เขียน พูด การจัดการเรียนการสอนก็ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้รอบด้าน มีทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน โดยต้องออกแบบการสอนแบบปฏิบัติที่เน้นให้เด็กนักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองว่าจะทำอย่างไร การสอนจริยธรรมคุณธรรมให้เป็นคนดีมีจิตอาสาหากต้องสอนออนไลน์จะทำอย่างไร  สิ่งสำคัญคือการสอนคุณธรรมจริยธรรมความซื่อสัตย์ ที่เน้นให้เด็กมีความซื่อสัตย์ครูก็ต้องมีความซื่อสัตย์ด้วย ส่วนการวัดและประเมินผลก็ต้องหลากหลายเหมาะสมกับวิธีการสอนรวมถึงต้องมีการนิเทศการสอนด้วย

.. ตรีนุช กล่าวรายงาน ว่า สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  โดยสำนักงาน กศน. ได้ดำเนินงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาผู้ยากไร้ ในพื้นที่ทุรกันดาร รวมถึงหน่วยงานร่วมสนองงานพระราชดำริที่ดำเนินการจัดการศึกษาในพื้นที่ทุรกันดาร ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ ร่วมด้วยโครงการส่วนพระองค์ 905  โดยกำหนดจัดงานประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่

ดร.สุรศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ ของหน่วยงานร่วมสนองงานมาถวายทอดพระเนตร พร้อมรับแนวพระราชดำรินำไปพัฒนางาน รวมถึงการพัฒนาครูในพื้นที่ตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่สูง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานของผู้ปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจแนวปฏิบัติ และสามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ ฉบับที่ 5 .. 2560 – 2569 ว่าด้วยการขยายผลเพิ่มเติมให้โรงเรียน หรือสถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ดำเนินการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า     กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี หน่วยงานร่วมสนองงานพระราชดำริ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( สำนักงาน กศน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ในช่วงบ่าย ..ตรีนุช ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสเบิกตัวคณะครู ผู้ชนะเลิศการประกวดแข่งขันแนวปฏิบัติ ที่ดี 6 ด้าน จํานวน 51 ราย เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร  จากนั้นขอพระราชทาน พระราชวโรกาสฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานร่วมสนองงานโครงการพระราชดําริ หน่วยงานสนับสนุน และคณะกรรมการ จัดงานฯ จํานวน 10 ชุด และขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูลเชิญ ใต้ฝ่าละอองพระบาท เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร ตามลําดับ

5 2 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments