เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา( ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า  กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เกณฑ์ PA)   ทั้ง 4 สายงาน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 นั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ที่โรงเรียนวัดกันเกรา อำเภอแกลง และโรงเรียนบ้านชุมแสง อำเภอวังจัน จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ระยอง เขต 2 ซึ่งมีข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการ สพป.ระยอง เขต 2 ได้เข้ามาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการดำเนินการตามเกณฑ์ PA ซึ่งพบว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดระยองส่วนใหญ่มีความตื่นตัว และมีความเข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการดังกล่าว โดยได้มีการศึกษาหลักเกณฑ์และข้อมูลจากสื่อรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงาน ก.ค.ศ. และได้ทราบว่า ได้มีการจัดทำข้อตกลง (PA) ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งพูดได้ว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดระยอง สามารถขับเคลื่อนการดำเนินการเกณฑ์ PA  ได้อย่างน่าชื่นชม และเป็นที่น่ายินดีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดระยอง ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการร่วมพลิกโฉมวิชาชีพครู สู่การศึกษาที่ดีกว่ากับ ก.ค.ศ.  และหลังจากนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ก็ได้วางแผนในการลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เกี่ยวกับการคขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเกณฑ์ PA ต่อไป  

น.ส.จินตนา ปาสองห้อง ครูโรงเรียนวัดหนองกันเกรา กล่าวว่า คิดว่าครูทุกท่านสามารถทำ PA ได้ การที่ ก.ค.ศ. ลงพื้นที่มาสร้างความเข้าใจในเรื่อง PA มากขึ้น เป็นกำลังใจให้เพื่อนครูที่ทำผลงาน ทำให้มีเป้าหมายในการทำงานมากขึ้น เพราะเกณฑ์ PA ท้ายที่สุดแล้วนำไปสู่ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียนของเราเอง

น.ส.มณฑาทิพย์ เสวคนธ์ ผอ.โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย กล่าวว่า การเขียน PA จะช่วยพัฒนาครูอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่โรงเรียนได้ใช้รายงานกระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตั้งเป้าการพัฒนาผู้เรียน ศึกษา            ทำความเข้าใจข้อมูลจาก ก.ค.ศ. โดยตรง ซึ่งตนเองมองว่าไม่ได้เป็นภาระกับครูและผู้บริหารเลย เพราะถ้าทุกคนได้ศึกษาแล้วจะพบว่าเป็นงานประจำที่ทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่ PA เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดระบบการทำงานปกติ และนำไปใช้ต่อยอดไปถึงการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะเท่านั้นเอง

นายสุธน พรมลี ศึกษานิเทศก์ สพม.ชลบุรี – ระยอง กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ ก.ค.ศ.ได้ลงพื้นที่มาสร้างความเข้าใจโดยตรงทำให้รับทราบข้อมูลโดยตรง และเห็นว่าเกณฑ์ PA มีประสิทธิภาพเพราะเป็นรูปแบบการประเมินที่อ้างอิงจากต่างประเทศมาปรับใช้ในการพัฒนาครูในรูปแบบเดิม ๆ สามารถวัดผลการสอนของครูและพัฒนาเด็กได้จริง.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments