นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว  ๆ นี้ ตนได้รับฟังผลการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงาน กศน.กทม. และ 50 สถานศึกษาในสังกัด พร้อมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและนิทรรศการด้านอาชีพ และกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยมีนายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายปรเมศวร์ ศิริรัตน์ ผอ.สำนักงาน กศน.กทม. ผู้บริหาร ข้าราชการครู และบุคลากร ตลอดจนผู้เรียน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้จากการนำเสนอสรุปผลการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีโครงการสำคัญ 9 โครงการ ภายใต้แนวคิด BIG ROCK ทั้งการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบออนไลน์ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและการสร้างงานตลอดชีวิต การจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางกรศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสำหรับผู้สูงอายุ การจัดการเรียนรู้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย การใช้พื้นที่การเรียนรู้ร่วม (Co-learning Space) ศูนย์ที่ปรึกษาการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะขององค์กรและเป้าหมาย (Learning Guideline Center: LGC) และการพัฒนาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2564-2567 รวมทั้งการจัดทำแบบทดสอบออนไลน์ “คู่มือความรู้ กศน.สู้โรคโควิด-19” ซึ่งมีนักศึกษา ครู ผู้บริหาร กศน. ตลอดจนประชาชนทั่วไป ผู้สนใจร่วมเรียนรู้และทดสอบ เป็นจำนวนมาก

“ขอชื่นชม กศน.กทม.ที่นำเสนอให้เห็นถึงการบริหารจัดการและดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพหลากหลายมิติ นำนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายครูโอ๊ะไปสู่การปฏิบัติโดยตลอด ทั้งยังได้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อนำมาประกอบการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดร่วมกัน อาทิ การพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี การนำเสนองานหรือแสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ พัฒนา และต่อยอดงานการศึกษานอกระบบ, การเปิดโอกาสแก่บุคลากรรุ่นใหม่ ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจในการทำงาน โดยใช้ประสบการณ์ของบุคลากรรุ่นใหญ่ช่วยให้คำปรึกษาแนะนำ, การวางแผนดำเนินการโครงการล่วงหน้า เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนทันทีเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย”นางกนกวรรณ กล่าว

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามตนขอฝากให้มีการรวบรวมปัญหา พร้อมสรุปแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน เพื่อนำเสนอต่อระดับนโยบายต่อไป อาทิ การเร่งจัดส่งหนังสือและเพิ่มสัดส่วนหนังสือเรียน รองรับการจัดการเรียนการสอนแบบ On-hand ช่วงเปิดภาคเรียน ในพื้นที่ต่างจังหวัดและชายขอบ ที่ยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต, การปรับปรุงระบบจัดทำข้อสอบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมนำเสียงสะท้อนของประชาชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไปปรับปรุงให้ตอบโจทย์ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การสอนอาชีพที่แปลกใหม่ ทันสมัย หรือต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิม, ออกแบบการจัดอบรมที่สร้างความน่าสนใจ สนุก เรียนแล้วมีความสุข อาทิ อบรมภาษาอังกฤษ (Boot Camp), การจัดทำคลังสื่อการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานออนไลน์ ตลอดจนวิชาเลือกที่น่าสนใจ ออกแบบสื่อให้กับคนทุกช่วงวัยสำหรับใช้ร่วมกันของ กศน.กทม.และสถานศึกษาในสังกัด หรือสำหรับสำนักงาน กศน.ในอนาคต เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments