“อาชีวะโคราช”ยืนหนึ่งสอนออกแบบเครื่องแต่งกาย กวาดรางวัลเพียบ ยึดนโยบาย เรียนดี มีความสุข

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรม ที่แสดงถึงศักยภาพของชาวอาชีวศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ต้องการโชว์ศักยภาพของชาวอาชีวศึกษาซึ่งมีสถานศึกษาในสังกัดมากมายทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 877 แห่ง23 สถาบัน โดยเรามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปจบการศึกษาแล้วมีงานทำ ฉะนั้นโจทย์ของ สอศ.คือจะทำอย่างไรให้งานอาชีวศึกษาเข้าไปอยู่ในหัวใจของคนไทย ให้ทุกคนรู้ว่าการศึกษาสายอาชีวะมีดีอย่างไร ซึ่งเราจะยกระดับการอาชีวศึกษาให้เป็นโซ่ข้อกลางในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยวันนี้เราได้นำสื่อมวลชนมาลงพื้นที่อาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นนครราชสีมาโมเดลต่อไป โดยเริ่มที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา  และเทคนิคนครโคราช ซึ่งมีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาวิชาที่น่าสนใจอย่างมาก

นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ได้ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาการศึกษาเรียนดี มีความสุขเน้น การศึกษาที่มีคุณภาพ โดยนักเรียนนักศึกษาที่จบออกไปแล้วจะต้องมีงานทำ ซึ่งปัจจุบัน สาขาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย มีสถานศึกษาอาชีวศึกษาเปิดสอนสาขานี้ ถึง 46 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งภาคเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีทั้งหลักสูตประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาได้เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center Of Vocational Manpower Networking Management : CVM)ที่มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการและกระบวนการทำงานด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงาน สร้างสรรค์และวิเคราะห์ปัญหา ด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้ โดยมีรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น ความรู้เรื่องสิ่งทอ การออกแบบเสื้อผ้า เทคนิคการตัดเย็บ ตกแต่ง และการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การออกแบบการจัดแสดงแฟชั่น คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบแฟชั่น เป็นต้น

อาชีวศึกษานครราชสีมา มีการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล การส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้พัฒนาทักษะและประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ล้วนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ศูนย์ CVM นำมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในสาขาวิชานี้นายยศพล กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาวิชานี้ทั่วประเทศรวมกว่า 1,400 คน ซึ่งนับว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยในอนาคต ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขานี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์หรือนักออกแบบแฟชั่น(Fashion designer) นักวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่น นักวาดภาพประกอบแฟชั่น นักออกแบบลายผ้า สไตลิสต์ ช่างแพทเทิร์น นายแบบ นางแบบ แฟชั่นมาร์เกตติ้ง Make-up artist หรือแม้แต่การเป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองนอกจากความหลากหลายของอาชีพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดให้หลายคนสนใจวงการแฟชั่นคือโอกาสในการสร้างรายได้ที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่แฟชั่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์และมีการแข่งขันสูงทำให้ผู้ที่มีความสามารถและความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาลอย่างแฟชั่นดีไซเนอร์ นักออกแบบแฟชั่นชื่อดังระดับโลกหลายคนมีรายได้สูงถึงหลักล้านดอลลาร์ต่อปี นอกจากค่าตอบแทนจากการออกแบบคอลเลกชั่นแล้ว ยังมีรายได้จากการร่วมงานกับแบรนด์ดัง การออกแบบชุดให้กับดารา หรือการเปิดแบรนด์ของตัวเอง สไตลิสต์ชื่อดังก็มีรายได้สูงเช่นกัน

นางจิตโสมนัส ชัยวงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา กล่าวว่าวิทยาลัยส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้แบบActive  Learning ตามนโยบายเรียนดีมีความสุขของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายยศพลเวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเรียนรู้และส่งเสริมการยกระดับทักษะฝีมือของเด็กโดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ทุกคนมีความสุขในการเรียนโดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนอำนวยการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะในสาขาที่เรามีความเป็นเลิศอย่างเช่น สาขาแฟชั่น สาขาอาหาร ที่ผลงานของเด็ก จะมีรางวัลกันทุกปี จนทุกวันนี้เราเป็นที่หนึ่งในระดับจังหวัดแล้ว

การเรียนรู้แบบบูรณาการเด็กทุกคนจะมีความสุข ผลงานที่เกิดจากเด็กจะสะท้อนกลับไปว่าครูสอนอย่างไร อย่างตอนนี้ในเรื่องของแฟชั่นและการตัดเย็บครูของวิทยาลัยได้รับมาตรฐานช่างตัดเย็บระดับ 5 แล้ว ซึ่งเราก็จะไปเตรียมพร้อมว่าเด็ก หรือผู้เรียนของวิทยาลัยก็จะต้องผ่านมาตรฐานนี้เช่นกันทั้งระดับ ปวช.และ ปวส. เพื่ออนาคตเด็ก จะได้เป็นดีไซเนอร์ คอสตูม หรือเป็นอะไรที่อยากจะเป็น รวมถึงเป็นผู้ประกอบการที่จะสร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ด้วยซอฟพาวเวอร์ทางด้านแฟชั่นผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา กล่าวและว่า  นักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยจะมีโอกาสได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการสำคัญ  ต่างๆ ที่ทางวิทยาลัยเข้าร่วมกับภาคส่วนต่าง ภายนอก นับเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เด็ก มีความสุขในการเรียน ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานที่ไปชนะการประกวดในเวทีต่าง ทั้งในระดับจังหวัดระดับประเทศ และสากล ซึ่งนอกจากเด็กจะมีความภาคภูมิใจที่ได้แสดงออกในเวทีต่างๆ แล้วผอ.เองและครูทุกคนก็รู้สึกว่ามีความสุขที่ได้เป็นแรงผลักให้เด็กได้แสดงออกและนำเสนอผลงานในเวทีต่างๆ อย่างหลากหลายด้วย

ผอ.จิตโสมนัส กล่าวด้วยว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมามีความโดดเด่นในหลายสาขาโดยทางด้านแฟชั่นเราเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว และยังมีสาขาที่ได้รับการยอมรับอย่างมากก็คืออาหารและโภชนาการ เพราะได้รับโอกาสให้ทำอาหารพื้นถิ่น ได้เป็นกรรมการในการประกวดทุกเวที  ภายใต้แบรนด์ครัวอาชีวะโคราชเป็นที่ทราบดีว่ามีคุณภาพและมาตรฐาน รสชาติอร่อย รักษามาตรฐานความเป็นไทย โดยล่าสุดได้รับรางวัล 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่นรสชาติที่หายไป The Lost Taste” นำเมนูน้ำพริกหมู (โคราช) ของครัวอาชีวะโคราช ได้รับการประกาศเป็นอาหารถิ่นประจำจังหวัดนครราชสีมา และได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจากประชาชน ในโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food รสชาติที่หายไป The Lost Taste) ประจำปี 2567 ด้วย นอกจากนี้ยังมีครัวเบเกอรี่สินค้าที่เด็ก ได้ร่วมกันผลิตและจำหน่ายที่ศูนย์ฝึกภายในวิทยาลัยที่เปิดให้บริการบุคคลภายนอกด้วย นอกจากนี้ยังมีสาขาอื่นที่เป็นสาขาที่มีชื่อเสียงของวิทยาลัย คือ  สาขาการโรงแรม การบัญชี   ศิลปกรรม และธุรกิจสถานพยาบาล เป็นต้นทุกสาขาของวิทยาลัยจะมีทำงานร่วมกันเพื่อให้ผลงานออกมาดี ทั้งครูและเด็กได้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นเด็กทุกคนที่เข้ามาเรียนที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา นอกจากจะได้รับความรู้ในแต่ละสาขาแล้วยังได้ทักษะอื่นๆจากการร่วมทำกิจกรรมอีกมากมายเป็นการเรียนอย่างมีความสุขแน่นอน

นายกิตติ ทุมมาลา นักศึกษา ปวส.1  กล่าวว่า ที่เลือกมาเรียนสาขาแฟชั่นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ก็เป็นความชอบส่วนตัวที่สนใจเรื่องผ้าอยู่แล้ว และ มั่นใจวิทยาลัยนี้เพราะมีชื่อเสียงระดับประเทศ และเมื่อได้เข้ามาเรียน ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดก็ได้รับรางวัลมา ถ้าเรียนจบไปก็คิดว่าจะทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไทยโดยนำผ้าท้องถิ่นมาต่อยอด

..อมิตา ทิมอุดม นักศึกษา ปวส. 2 กล่าวว่า ผลงานที่ส่งประกวดได้แรงบันดาลใจมาจากโคนม ซึ่งเกิดจากความสงสัย ว่า นมที่เราดื่มกันมาตั้งแต่เด็กมาจากไหนจึงได้ไปค้นคว้าและทราบว่ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้มาทำชุดพอส่งประกวดโครงการเยาวชนสร้างสรรค์ต่อยอดแฟชั่นหัตถศิลป์ไทย ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาเลย ส่วนที่เลือกมาเรียนที่นี่ เพราะอยากเป็นดีไซเนอร์และไปสานต่อกิจการของครอบครัว

เสมา 1 ตั้งกรรมการตรวจสอบซ้อนกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ความเป็นธรรม กรณี ‘ครูเบญ’ ชื่อหาย ย้ำเพื่อพิสูจน์ว่า กระบวนการศธ.โปร่งใส ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง นายประยงค์ สารภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สระแก้ว หลังพบการประกาศผลสอบพนักงานราชการตำแหน่งครูผู้สอนผิดพลาดนั้น ยังไม่ถือเป็นการตัดสินว่า ผอ.สพม.สระแก้ว มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ต้องรอสรุปผลการสอบสวนก่อน  หากผลออกมาว่า ผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ต้องว่าไปตามนั้น รวมถึงต้องรอผลการพิสูจน์หลักฐานของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อจะดูว่ามีการแก้ไขกระดาษคำตอบครูเบญหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้เชื่อมั่นว่า สพฐ. และ ศธ. พยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยล่าสุดตนได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ  เพื่อตรวจสอบกระบวนการสอบข้อเท็จจริง ขึ้นมาอีกหนึ่งชุด โดยเป็นบุคคลภายนอกที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ใครเป็นคณะกรรมการบ้าง เพื่อให้มีอิสระในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม  เหมือนเป็นการตั้งกรรมการซ้อนกรรมการ เพื่อไปตรวจสอบว่า กรรมการของสพฐ.ดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และทำให้สังคมเห็นว่า กระบวนการสอบข้อเท็จจริงของ ศธ.ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก

“การตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ ให้เข้ามาดูกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง ว่ามีความครบถ้วนแล้วหรือไม่  และกระบวนการจัดสอบมีความบกพร่องในส่วนใด หากสรุปแล้วพบว่า เป็นความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นจากบุคคล ก็จะได้แก้ไขให้ตรงจุด แม้วันนี้จะเชื่อว่า ระบบค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ก็ต้องหาคนกลางเข้ามาช่วยตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง โดยขอให้เชื่อมั่นว่า ศธ. มีความยุติธรรมให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นครูเบญ หรือใครก็ตาม จะต้องได้รับความเป็นธรรมทุกคน  โดยเบื้องต้นขอให้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน” รมว.ศึกษาธิการกล่าว

ด้าน ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นการตั้งขึ้นจากข้อสรุปของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่ามีมูล และเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจและเป็นคดีที่กระทบกับภาพลักษณ์ของ ศธ.ทำให้ราชการเสียหาย ดังนั้น จึงต้องตั้งวินัยร้ายแรงไว้ก่อน ส่วนสุดท้ายผลจะออกมาอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์หลักฐานของกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ส่วนจะแถลงสรุปคดีเมื่อไรนั้น ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์หลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ  โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. ก็ลงพื้นที่เพื่อดูแลในเบื้องต้นแล้ว

ย้าย ผอ.เขต สพฐ.จุ้น

หยอก หยอก วันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 *** ไร้ซึ่งยุทธศาสตร์ ประเทศชาติมีอันตราย ประชาชนย่อมไร้ความสงบ ***นับเวลาถอยหลังอีก 6 วัน ก็จะสิ้นปีงบประมาณ 2567 ถึงเวลาข้าราชการไทยที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะต้องอำลาชีวิตข้าของแผ่นดิน ปีนี้กระทรวงศึกษาธิการมีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการกว่า 10,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้บริหารระดับสูง 1 คน คือ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งจะทำให้ซี 11 ว่างลง 1 ตำแหน่ง แต่ก็ได้เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ มารับตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษาไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนระดับ 10 จะว่างลงจากการเกษียณ 3 ตำแหน่ง คือ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) 2 ตำแหน่ง จาก นายประพัทธ์ รัตนอรุณ และ เรืออากาศโทสมพร ปานดำ อีก 1 ตำแหน่ง คือ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยณรงค์ ป้องบ้านเรือ และ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ที่ว่างลงจากการที่ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา … จากนี้ก็ต้องมาลุ้นกันละว่าจะได้ใครมาแทนในตำแหน่งระดับ 10 ที่ว่างลง แถมด้วยตำแหน่งผู้บริหารระดับต้นของ ศธ.ที่จะว่างลงตามมา ทั้งจากการเกษียณอายุราชการ อย่าง นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(กพฐ.) และจากการที่จะได้ขึ้นไปครองตำแหน่งระดับ 10 … หลายคนที่เคยมีลุ้น มีโอกาสมาหลายรอบหลายหน ก็ยังมีลุ้นต่อไป (ถ้าไม่ถอดใจ โบกมือลาซะก่อน) *** ว่าแต่ตอนนี้มีกระแสชุลมุนวุ่นวายกับการแต่งตั้งโยกย้ายผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ที่จะเข้ามาแทนตำแหน่งเกษียณ 38 อัตรา ซึ่ง สพฐ.จะสลับสับเปลี่ยนโยกย้ายผู้อำนวยการเขตพื้นที่เดิมก่อนแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ ว่ากันว่าการย้ายครั้งนี้ มีการสลับสับเปลี่ยนเป็นโดมิโนหางยาวกันเลยทีเดียว เพราะพรรคภูมิใจไทยมีนโยบายให้เกียรติ สส.ภายในพรรคอยู่จังหวัดไหนก็ให้เสนอชื่อแต่งตั้งคนนั้นขึ้นมาเพื่อช่วยงานได้เลย แต่ละจังหวัด มี สส. 2 คนบ้าง 3 คนบ้าง จังหวัดใหญ่ก็มีมากเป็น 10 คน คนหนึ่งก็อุ้มไก่ของตัวเอง 1 ตัว บางจังหวัดมีไก่หลายตัว ก็ต้องอุ้มออกมาตีกัน ที่เป็นกระแสแรงตอนนี้ โดยเฉพาะทางภาคอีสาน เป็นไก่ใกล้ ๆ ฝั่งโขง ไม่รู้ว่า ไก่ตัวผู้ หรือไก่ตัวเมียจะชนะ แต่มีพรายกระซิบบอกว่าไก่ตัวเมียชนะแน่นอน เนื่องจากไก่ตัวเมียมีนม ไก่ตัวผู้ไม่กล้าตีแรง…555 *** ส่วนเรื่อง สส.คนดัง ที่ข้าราชการวิ่งหาตำแหน่งประจำในจังหวัดขอนแก่น ทราบว่าพรรคภูมิใจไทยเขาไม่ไว้ใจแล้ว ดังนั้นเรื่องร้องเรียนการบริหารงานของ สพม.ขอนแก่น ก็ต้องจบอยู่ที่เดิม…เนาะ? เพราะตอนนี้ก็รวมโผรายชื่อโยกย้ายแต่งตั้ง ส่งถึงมือ..สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เพื่อเข้าพิจารณาในบอร์ดพรรคภูมิใจไทย แล้ว และคาดว่า รายชื่อแต่งตั้งโยกย้าย ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ของ สพฐ.จะประกาศวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน นี้…หลังจากส่งกลับไปกลับมาแก้ไขหลายครั้ง…เฮ้อ *** หยอก หยอก ขอส่งกำลังใจให้ ธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.)ที่รับคลื่นซัดกระหน่ำยิ่งกว่าน้ำท่วมภาคเหนือเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเรื่องข่าวการโยกย้าย ผอ.สกร.จังหวัด เรื่อง ผอ.สกร.อำเภอศรีณรงค์ ปมถูกแฉนอนกินเงินเดือนฟรีอยู่บ้าน ณ ตอนนี้ก็ยังคงเงียบไม่มีวี่แววข่าวการโยกย้ายของ สกร.ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 1 ตุลาคม นี้…ก็ต้องทำกันเงียบ ๆ แหละ เดี๋ยวมีประเด็นอะไรขึ้นมาอีก รอลุ้นกันครั้งเดียวตอนรายชื่อออกนะจ๊ะ อย่าพึ่งอยากรู้กันก่อนเลย เดี๋ยวจะนอนไม่หลับ…อิอิอิ ***สำหรับผู้ที่ผิดหวังกับตำแหน่งอื่น ยังมีให้วิ่งกันอีกนะจ๊ะ เพราะเร็ว ๆ นี้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำจังหวัด(ผอ.สกสค.จังหวัด)จะพ้นวาระกันทั้งประเทศ ก็ไม่รู้ว่างานนี้ เงินจะสะพัดเข้ากระเป๋าใครบ้าง…เนาะ…เรื่องการจัดพิมพ์หนังสือเรียนองค์การค้า ของสกสค.ก็ยังอยู่ในกระแส…เพราะเนชั่นทีวี ก็ยังเล่นไม่เลิก…หยอก หยอก ก็ได้แต่ออกมาเตือน กลัวลืมหาข้อมูลหลักฐานมาตั้งรับกันให้ดีก็แล้วกัน เพราะอีก 6 วันก็จะได้ไต่สวนมูลฟ้องกันแล้ว…เด้อ *** ปรับโหมด …มาเรื่อง “ครูเบญ” ชื่อหาย เห็นเรื่องเงียบ ๆ ซาไป แต่สังคมยังตามฟังผลการสอบสวนอยู่ … เค้าอยากรู้ว่า สพฐ.จะจัดการกับความผิดพลาดของกระบวนการที่สามารถก่อกวน ทำร้ายชีวิตของคนคนหนึ่งได้อย่างสาหัส … อยู่ ๆ ก็เอาความว้าวุ่นไปให้เขาแล้วก็จะจากไปดื้อ ๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไม่ได้นะ *** ขอบอกว่าเหตุการณ์นี้ใจร้ายมาก … ***

อาชีวะ – มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กลับมาดำรงชีวิตได้ปกติอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิฯ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยเรื่องร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติที่ร้ายแรง ร่วมลงนาม ระหว่าง มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยนายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ณ ห้องประชุมมหินทรเดชานุวัตน์ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยากสภากาชาดไทย กรุงเทพฯ

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดตั้งตามพระดำริของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงดำรงตำแหน่ง องค์นายกกิตติมศักศักดิ์ตลอดชีพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรรรราชธิดา ทรงดำรงตำแหน่ง องค์ประธานกรรมการมูลนิลนิธิฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงให้ภาครัฐ เอกชน และชุมชน ร่วมกันเกื้อหนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามทุกข์ยากจากภัยพิบัติที่รุนแรงและบูรณาการความช่วยเหลือในเรื่องภัยพิบัติอย่างครบวงจรให้ประชาชนสามารถกลับมาดำรงชีวิตอย่างปกติได้อย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิ ฯ ได้ดำเนินงานตาม พันธกิจ 3 ด้านหลัก ได้แก่ พันธกิจ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเฝ้าระวังก่อนเกิดอุทกภัย การบรรเทาทุกข์ระหว่างเกิดอุทกภัย และการฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย ซึ่งที่ผ่านมา สอศ. ให้การสนับสนุนมูลนิธิฯ ผ่านโครงการ “Fix It Center” ในการซ่อมและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือประกอบอาชีพ และโครงการระยะยาว เช่น โครงการ “ฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืน” และ สอศ. ให้การสนับสนุนบุคลากร ร่วมปรับปรุง ซ่อมแชม และบำรุงรักษา ฝ่ายชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการชะลอน้ำ การดักจับตะกอน และเป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภคของชุมชน

นายยศพล  กล่าวว่า ในนามสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความยินดีในโอกาสร่วมกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ และภัยพิบัติที่รุนแรง ตลอดจนการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัย รวมถึงงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านฟื้นฟูของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ ) ยามยาก สภากาชาดไทย โดย สอศ. เป็นองค์กรหลักการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา นำวิชาชีพมาฝึกปฏิบัติจริง ปลูกฝังการมีจิตอาสาและทักษะชีวิตใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม

“จากการเรียนของนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาอาหารและโภชนาการ สาขาช่างยนต์ สาขาช่างไฟฟ้า นักศึกษาสามารถนำความรู้มาช่วยเหลือประชาชนได้ในทุกสถานการณ์ และจากเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ สอศ. ดำเนินการจัดศูนย์อาชีวะอาสา Fix it Center ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 45 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 25 แห่ง ให้บริการประชาชน ชาวบ้าน ชุมชน สถานศึกษา และครอบครัวนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ ครัวอาชีวะอาหารปรุงสุก บริการซ่อมแซมเครื่องไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ซึ่ง สอศ. ยินดีเป็นอย่างยิ่งและพร้อมสนับสนุนภารกิจของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป”เลขาธิการ กอศ.กล่าว

 

น้ำใจชาว “สวนธนฯ”ส่งมอบสิ่งของจำนวน 400,000 บาท ช่วยน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นายศรายุทธ รัตนปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี พร้อมด้วยสมาคมผู้ปกครองครูและศิษย์เก่าฯ ,เครือข่ายผู้ปกครองฯ ได้ส่งมอบเครื่องอุปโภค บริโภค และเสื้อผ้า “โครงการสวนธนฯร่วมใจแบ่งปันรอยยิ้ม อิ่มความสุข คลายทุกข์น้ำท่วม” มูลค่ากว่า 400,000 บาท ให้กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิองค์กรทำดี เพื่อนำเครื่องอุปโภค บริโภค ไปช่วยเหลือเพื่อนคนไทยที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ ณ ชั้น 1 อาคารออกอากาศ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

ศธ.มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเสมา ป.ป.ส. ‘เพิ่มพูน’ ปลุกครูและผู้บริหารเป็นเบ้าหลอมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน “ห่างไกลยาเสพติด รู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบัน”

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเพชร ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมไดมอนด์ ฮอลลล์ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวตอนหนึ่งว่า ยาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยพวกเราต้องช่วยกันดำเนินการ เชื่อว่าทุกท่านที่ได้รับรางวัลวันนี้มีความตั้งใจสูงในการช่วยกันผลักดันยาเสพติดให้ออกไปจากสังคม โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่อยู่ในการดูแลของพวกเรา ซึ่งยังมีเรื่องที่เป็นห่วงก็คือทำไมปราบปรามเท่าไหร่ก็ยังไม่หมดสักที เราอาจจะมาไม่ถูกทางหรือไม่

จึงต้องฝากถึงทุกหน่วยงานช่วยกันคิดช่วยกันดูว่าเป็นเพราะอะไร อาจเพราะไม่ได้ถอนรากถอนโคนหรือไม่ เหมือนเวลาตัดต้นไม้ เราตัดแค่กิ่ง ก้าน ใบ แต่ไม่ได้ถอนไปถึงหัวใจของต้นคือรากและโคน ซึ่งในมิติของการศึกษาต้องทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกันตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก โดยครูและผู้บริหารทุกคนถือว่าเป็นเบ้าหลอม ถ้าหากเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น มุ่งมั่นที่จะกระจายเครือข่ายไปยังสถานศึกษาใกล้เคียงอื่น ๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือก็ย่อมประสบผลสำเร็จ

“สิ่งที่เราต้องทำเพิ่มขึ้นมา คือ ปลูกฝัง ทำให้เด็กเรียนรู้ เข้าใจพิษภัยของยาเสพติด เช่น ปลูกฝังให้เด็กมองยาเสพติดเหมือนสิ่งปฏิกูล ซึ่งเป็นสิ่งสกปรก ไม่น่าเข้าใกล้ ไม่มีใครอยากไปจับหรือสัมผัส เป็นของที่ไม่ดี เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่ไปลองยาเสพติดนั้น เขาคิดเพียงแต่ว่าเท่ นอกจากนี้สิ่งที่อยากจะขอย้ำให้ปลูกฝังอย่างเข้มแข็งที่สุด คือ ห่างไกลยาเสพติด รู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบัน โดยปลูกฝังให้เขาห่างไกลยาเสพติด รู้รักสามัคคี เช่น การทำงานต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันจะช่วยให้สังคมมีความสุข ส่วนเทิดทูนสถาบัน เป็นนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญ โดยมีการ MOU ร่วมกัน 4 กระทรวง เพราะสถาบันคือเสาหลักแห่งชาติ ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะสถาบัน โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในบ้านเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะเข้ามาเป็นหลักในการช่วยเหลือทำให้ทุกอย่างสงบลง อย่างเหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ก็ได้ส่งความช่วยเหลือถุงพระราชทาน โรงทาน แม้แต่น้ำลดแล้วก็ได้ส่งเครื่องฉีดน้ำไปช่วยชะล้างทำความสะอาดฟื้นฟูบ้านเมือง เป็นสิ่งที่ท่านทรงเป็นห่วงประชาชนทุกคนมาตลอด ดังนั้นเราจึงต้องรักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ขอฝากให้ไปขยายผลต่อ เชื่อว่าจะเป็นแนวในการป้องกันยาเสพติดได้เป็นอย่างดี เพื่อให้นโยบายเรียนดีมีความสุขของเราดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตรงวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ” รมว.ศธ. กล่าว

ด้าน ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลได้มีนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและกำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่ทุกภาคส่วนจะต้องบูรณาการแผนงานและกลไกการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบให้เป็นรูปธรรม โดยได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับนักเรียน นักศึกษา และเฝ้าระวังไม่ให้ยาเสพติดเข้ามาแพร่ระบาดในสถานศึกษา

โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข จึงเป็นโครงการสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาเกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และยั่งยืน ภายใต้มาตรการ 5 ด้าน ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการดูแลรักษา มาตรการเฝ้าระวัง และมาตรการบริหารจัดการ โดยใช้ “กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่” คือ ต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล และต้องมีเครือข่าย และ 2 ไม่ คือ ไม่ปกปิดข้อมูล และไม่ไล่ผู้เรียนออก

การประเมินผลงานตามเกณฑ์เป็น “สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข” ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเพชร ประจำปีการศึกษา 2566 มีสถานศึกษาได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 453 แห่ง ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้สถานศึกษาในสังกัดเรียนรู้กระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ มีเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงาน/สถานศึกษาที่มีความเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืน ส่งผลให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันยาเสพติด มีทักษะชีวิต สามารถแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับปัญหายาเสพติด และไม่เป็นนักเสพยาเสพติดรายใหม่

 

กยศ.แจง สาว อบต. โดนฟ้องยึดทรัพย์ เป็นผู้กู้ถูกดำเนินคดีปี 57  แต่ยังมีเวลาหากมาปรับโครงสร้างหนี้จะไม่ถูกบังคับคดีแน่นอน

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า  จากกรณี ผู้กู้ยืมรายหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ทำงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง ถูกหมายศาลสั่งบังคับคดียึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้ กยศ. ทั้งที่ถูกหักเงินเดือน ๆ ละ 1,200 บาท ระหว่างปี 2562 – 2566 คิดเป็นเงิน 61,200 บาท นั้น กองทุนฯ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้กู้ยืมรายดังกล่าวถูกดำเนินคดีตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเคยตกลงทำตามสัญญาประนีประนอมยอมความในการผ่อนชำระ 108 งวด เริ่มชำระตั้งแต่งวด 5 สิงหาคม 2557 – 5 กรกฎาคม 2566 ต่อมากองทุนฯได้มีหนังสือแจ้งหักเงินเดือนผู้กู้ยืมตามจำนวนที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากจะครบอายุความบังคับคดี กองทุนฯ จึงหยุดการหักเงินเดือนและได้แจ้งให้ผู้กู้มาติดต่อปรับโครงสร้างหนี้แต่ผู้กู้ไม่ได้ติดต่อกลับมา กองทุนจึงจำเป็นต้องดำเนินการเตรียมบังคับคดีเพื่อมิให้ขาดอายุความ ทั้งนี้ หนังสือที่ผู้กู้ยืมได้รับดังกล่าวเป็นหมายสวมสิทธิเท่านั้น กองทุนฯยังไม่ได้มีการยึดทรัพย์แต่อย่างใด

ที่ผ่านมา กองทุนฯ ได้ดำเนินการคำนวณหนี้ใหม่ (Recalculation) ให้แก่ผู้กู้รายนี้แล้ว จากเดิมผู้กู้ยืมรายดังกล่าวมีภาระหนี้คงเหลือประมาณ 120,000 บาท และเมื่อคำนวณหนี้ใหม่แล้วมียอดหนี้คงเหลือ ประมาณ 60,000 บาทเศษ โดยผู้กู้สามารถตรวจสอบภาระหนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th อีกทั้งผู้กู้ยืมรายดังกล่าว ยังมีสิทธิเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อขยายระยะเวลาผ่อนชำระเงินคืนกองทุนฯ เป็นรายเดือนออกไปอีก 15 ปี เมื่อชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นกองทุนฯ จะให้ส่วนลดเบี้ยปรับเดิมที่ตั้งพักไว้ทั้งหมด 100% และปลดภาระผู้ค้ำประกันทันทีหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ หากผู้กู้ยืมรายนี้ประสงค์จะปรับโครงสร้างหนี้ กองทุนฯ จะใช้ยอดหนี้ที่ได้คำนวณใหม่นี้ในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

ทั้งนี้ หากผู้กู้ยืมรายใดที่อยู่ระหว่างกระบวนการดำเนินคดี/บังคับคดี ขอให้มาติดต่อปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้กู้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ซึ่งเงินที่ผู้กู้ยืมชำระหนี้คืนกองทุนฯ จะเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา รุ่นน้องต่อไป

สอศ. เฟ้นหาครูอาชีวะรุ่นใหม่423 อัตรา จัด 100 ทีมสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ค กว่าหมื่นคน  

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) ตรวจเยี่ยมสนามสอบสัมภาษณ์ ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ในสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ตามหลักเกณฑ์ ว14) และประชุมชี้แจงกรรมการสอบและจับฉลากแบ่งชุดกรรมการ จัดระหว่างวันที่ 23 – 27 กันยายน 2567 ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

นายยศพล กล่าวว่า การสอบแข่งขันครั้งนี้จะบรรจุจำนวน 423 อัตรา ใน 56 กลุ่มวิชา  มีผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ภาค ค  รวมทั้งสิ้น 10,366 คน ในแต่ละวันกำหนดรายงานตัว 4 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 เวลา 7.30 – 8.15 น. รอบที่ 2 เวลา 9.00 – 9.45 น. รอบที่ 3 เวลา 12.00 – 12.45 น. และรอบที่ 4 เวลา 13.30 – 14.15 น. โดยมีคณะกรรมการในการสอบสัมภาษณ์ 100 ชุด ชุดละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการสอนในประเภทวิชา หรือกลุ่มวิชา หรือทางหรือสาขาวิชาเอกนั้น ๆ จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่ส่วนราชการกำหนด จำนวน 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่สำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 คน

เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า การสอบสัมภาษณ์ในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกครูผู้ช่วยอาชีวศึกษา ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคัดกรองบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเหมาะสมกับตำแหน่งครูอาชีวศึกษา โดยคณะกรรมการจะพิจารณาจากประวัติส่วนตัวและการศึกษา บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา วุฒิภาวะทางอารมณ์ การมีปฏิภาณไหวพริบ เจตคติและอุดมการณ์ความเป็นครูอาชีวศึกษา ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพและมีใจรักในการพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพอย่างแท้จริง

“สำหรับผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์และได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยอาชีวะ จะต้องเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ครูอาชีวศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดย สอศ. มีแผนในการพัฒนาครูใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ สอศ. จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://ipa.vec.go.th/”นายยศพลกล่าส

ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ถึงมือ กมธ.การศึกษา แล้ว “โสภณ” ย้ำ เป็น พ.ร.บ.ฉบับสมบรณ์ที่สุด ที่จะปฏิวัติการศึกษาของชาติ (มี ร่าง พ.ร.บ.)

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… ที่มี นายโสภณ ซารัมย์ ประธาน ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ เสร็จสมบูรณ์  และได้นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แล้ว ส่วนขั้นตอนต่อไปจะต้องกรรมาธิการร่วม 2 สภาก่อนหรือเสนอกฤษฎีกาอีกครั้งต้องติดตามกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่าเรื่องนี้เป็นอีกความภาคภูมิใจที่ตนมีส่วนในการผลักดันให้การยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่เสร็จสมบูรณ์ได้ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้

นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… กล่าวว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ จะเป็น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด ที่จะแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ เป็น พ.ร.บ.ฉบับปฏิวัติการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ทั่วถึง เท่าเทียม และ ทันยุค  หมายถึง การศึกษาต้องเข้าถึงได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เช่น ชุมชนบนดอยหรือหมู่บ้านในชนบท รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาสายอาชีพ ส่วนความทันยุค คือ รัฐต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการศึกษา โดยควบคู่กับการส่งเสริมความเป็นไทย เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัลได้อย่างสมดุล

ทั้งนี้จากการที่ คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุม เสวนา การยกร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ โดยลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และได้นำข้อมูลจำนวน กว่า 10,000 คน มาวิภาคร่วมกันหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะกรรมาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์ต่างๆ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเมื่อวันที่ 6-8 กันยายน ที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลจากการวิภาคที่ผ่านมาหลายครั้งมาหาข้อสรุปทบทวนในแต่ละประเด็น โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. ระบบการศึกษา ได้ปรับปรุงให้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ในระบบ กับ การศึกษาตามอัธยาศัย และได้เน้นให้เกิดความชัดเจน ทั่วถึง มีคุณภาพ
2. การถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ของ สพฐ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ สถานที่ ให้ใช้ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่าและมีคุณภาพ
4. หลักสูตร ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลาง ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา
5. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภารงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และจะดำเนินการให้ลงตัวที่สุด
6. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภาระงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และได้รับปรับโครงสร้างดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น
7. การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสถานศึกษา กับสถานประกอบการ หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาศให้กับผู้เรียนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะในการทำงาน ค้นพบตนเอง ผู้จัดการศึกษา มีใบรับรองผลการศึกษาตามความเหมาะสม ร่างพรบ.ชุดนี้เป็นความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง ใช้เวลา 1 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทย

ร่าง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ปรับแก้ ๒๑ ก.ย. ๖๗

สอศ.ตั้งศูนย์ Fix It Center ช่วยเหลือประชาชน  20 ศูนย์ ที่จังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2567 นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย และ นายธนภัทร แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ ลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ครู บุคลากร นักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย และศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค  (สถานศึกษาในโครงการกองทุนการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10) วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา และอีกหลายวิทยาลัยที่หน่วยบริการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามนโยบายของพลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และ ในการตั้งศูนย์อาชีวะอาสาช่วยเหลือประชาชน (Fix It Center) ของ สอศ.เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่เกิดอุทกภัย ซึ่งขณะนี้ สอศ. ตั้งอาชีวะอาสาช่วยเหลือประชาชน (Fix It Center) ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในจังหวัดเชียงรายแล้วกว่า 20 แห่ง โดยมีนางสาวอรพิน ดวงแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย เป็นผู้ประสานงาน