“ผู้บริหาร-ครู”ตอบรับข้อเสนอแนะ “เสมา1”เดินหน้าติวเข้ม Active Learning ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูง  ประสานเสียงอยากให้จัดต่อเนื่อง

ตามที่ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เห็นด้วยที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning มาใช้และเห็นด้วยที่จะให้มีการผลักดันกันทั่วประเทศเพราะที่ผ่านมามีการนำรูปแบบนี้มาใช้แต่ยังไม่สมบูรณ์มากพอ ซึ่งการเรียนการแบบ Active learning เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เด็กไทยพัฒนาขึ้น และสามารถสร้างนวัตกรรมเองได้ โดยได้กล่าวขอบคุณหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เข้ามาร่วมสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการศึกษาให้ดีขึ้น และอยากให้ขับเคลื่อนรูปแบบที่มุ่งเน้นให้ครูมีกระบวนการคิดขั้นสูงให้ครอบคลุมในประเทศโดยเร็ว เพราะอยากเห็นความสำเร็จของการศึกษาไทยออกมาอย่างสมบูรณ์ และเด็กไทยได้ประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดโครงการพัฒนาครูต้นแบบในเขตภาคกลาง เพื่อ “พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาโดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21” ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบไปสู่การสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร อันเป็นกิจกรรมสำคัญของการอบรมครูตามโครงการพัฒนานวัตกรรม   เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ)ระดับประถมศึกษา โดยแบ่งสถานที่อบรมเป็น 3 จุด ได้แก่ สพป.พิจิตร เขต 1 โรงเรียนอนุบาลบางมูลนาก “ราษฎร์อุทิศ” สพป.พิจิตร เขต 2 และ สพป.นครสวรรค์ เขต 2 โดยมีครูเข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 468 คน เพื่อสร้างต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

โดย นายวิวัฒน์ ผลประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)พิจิตร เขต 2  กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้จะช่วยให้โรงเรียนคุณภาพสามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปใช้กับเด็ก เชื่อว่าจะส่งผลให้นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง สามารถนำไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ และเชื่อด้วยว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการทดสอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความสามาถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ  ( National Test : NT)  การทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) ของโรงเรียนจะสูงขึ้นด้วย เพราะครูจะสามารถนำการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ได้จากการอบรมไปบูรณาการได้กับทุกกลุ่มสาระ ทำให้นักเรียนลดเวลาในการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ครูมีกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย ซึ่งผลสุดท้ายก็จะลงที่ตัวเด็ก

“การเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นความคิดของเด็กเป็นหลักและเป็นการเรียนรู้ที่เปิดให้เด็กมีสละในการลงมือกระทำด้วยตนเองเพราะฉะนั้นถ้าเด็กสามารถเรียนรู้จากการกระทำของตนเองก็จะทำให้เขามีความสุขในการเรียนรู้ได้และยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้ซึ่งเป็นการฝึกความคิดของสมองในการทำงานร่วมกับร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดีซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีความสุขที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ใหม่และเป็นการเรียนรู้ที่จะสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งจะติดตัวเด็กไปตลอดตรงข้ามกับการ เรียนรู้ที่บังคับให้เด็กเรียน เช่น บังคับให้จำ บังคับให้สอบ ซึ่งจะส่งผลให้ทัศนคติในการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ชอบในการเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าให้อิสระเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการหรือสิ่งที่เขาชอบและให้เด็กได้ฝึกคิดฝึกปฏิบัติเป็นกระบวนการคิด กระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ก็จะฝึกให้เด็กมีองค์ความรู้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและเป็นองค์ความรู้ที่จะติดตัวเด็กไปตลอดซึ่งจะสามารถต่อยอดจนเป็นนวัตกรรมในอนาคตได้”รอง ผอ.สพป.พิจิตร เขต 2 กล่าว

ดร.บุญครอง กูลดี รอง.ผอ.สพป. พิจิตร เขต 1 กล่าวว่า ความสำคัญของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ คือ เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนวัตกรที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในการเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน ถ้าเป็นครูรุ่นเก่าอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี แต่คิดว่าปัจจุบันครูของเราเป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนได้ดี ขณะเดียวกันตัวเด็กเองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับการเรียนการสอนด้วย Active Learning ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นที่ฯก็ได้มีนโยบายให้โรงเรียนสร้างความตระหนักและมีความจริงจังในการขับเคลื่อนการจัดการการศึกษาของเราไปสู่เป้าหมาย ดังนั้น การจัดอบรมนี้ถือว่าตอบโจทย์นโยบายรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี เพราะการใช้ Active Learning ในการจัดกระบวนการเรียนรู้จะทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ และนำไปสู่ทักษะที่จะใช้ในชีวิตจริงของเขา และงานการเรียนการสอนเด็กจะสามารถหาองค์ความรู้ได้อย่างหลากหลายด้วย

ดร.ทยุทธ์ สาลีจันทร์ ผอ.โรงเรียนอนุบาลตะพานหิน(วังสำโรง) สพป. พิจิตร เขต 2 กล่าวว่า คิดว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps  เป็นกระบวนการที่จะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดเป็นอันดับแรก และเมื่อเด็กได้ฝึกฝนในการใช้กระบวนความคิดแล้วก็จะสามารถใช้ความคิดนั้นในการเรียน และสามารถสร้างนวัตกรรมชิ้นงานได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ติดตัวเด็กไปและยังสามารถไปต่อยอดในเรื่องของการทำงาน การเรียนหรือในชีวิตประจำวันได้

“จากนโยบายของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นแบบ Active Learning ผมเชื่อว่า จะส่งผลให้ผู้เรียนทุกคนสามารถฝึกระบบการคิดได้ และสามารถเรียนรู้ต่อยอดตามกระบวนการคิดของตัวเอง เน้นการลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับนโยบายของสถานศึกษา โดยผู้บริหารจะต้องขับเคลื่อนหลักสูตรที่เน้นในเรื่องของแบบ Active Learning โดยใช้ GPAS 5 Steps เข้ามาร่วมในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาเมื่อผู้บริหารกำหนดหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning แล้ว ก็จะส่งผลต่อครูที่อยู่ในโรงเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนเป็นแบบ Active Learning ตามมาด้วย ซึ่งสุดท้ายจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนเพราะเขาจะสามารถเป็นเด็กที่ใช้กระบวนการคิดได้อย่างเป็นระบบ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างสอดคล้องกับนโยบาย Soft Power ได้ด้วย”ดร.ทยุทธ์ กล่าวและว่า เพราะฉะนั้นคิดว่าตอนนี้เรามาถูกทางแล้ว เพราะนโยบายนี้สอดคล้องกับกระบวนการทางสมองของเด็กในการพัฒนาเรื่องของการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมให้เด็กเป็นนวัตกรที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศได้

นายกิติศักดิ์ ปัญโญ ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดคลองโนน สพป.พิจิตร เขต 1 กล่าวว่า ในความคิดของตนคนรุ่นใหม่และ Active Learning เป็นของคู่กันเพราะกระบวนการเรียนรู้แบบเดิม ๆ สิ่งที่เด็กพบเห็นมาไม่ค่อยตอบโจทย์ในการเรียนรู้ในยุคนี้ เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับเด็ก โดยสิ่งสำคัญสุด คือ เรื่องของทักษะของครูที่เคยชินและคุ้นชินก่อนได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสที่ครูสามารถพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนใหม่  ๆ ก็น่าจะส่งเสริมศักยภาพของครูได้ รวมถึงความจริงจังและต่อเนื่องของนโยบายก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าขับเคลื่อนแบบจริงจังและต่อเนื่องน่าจะไปได้ในเวลาสองปีตามที่รัฐมนตรีวางเป้าหมายไว้

นายวุฒิศักดิ์ คำมา ครูชำนาญการ โรงเรียนเนินหัวโล้ หนองยางพิทยาคม สพป.พิจิตร เขต 1 กล่าวว่า การเรียนรู้แบบ Active Learning มีความสำคัญสำหรับการจัดการเรียนรู้ในยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากสมัยปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องการจัดการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning และให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้ร่วมคิดเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของประเทศไทย และส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ก็คือทักษะของครูที่ควรมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ๆ  แม้แต่การคืนครูสู่ห้องเรียนให้ครูได้มีเวลาอยู่กับเด็กจริง ๆ เพื่อให้ครูสามารถซึมซับผู้เรียนได้ว่า เด็ก ๆ ต้องการอะไร ต้องการเรียนรู้อะไร ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งนี้เชื่อว่าในเวลาสองปีนี้การปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Active Learning ทั้งระบบจะเป็นไปได้แน่นอน เพื่อครูไทยมีศักยภาพ

ด้าน นายสายัณห์ สีคง รองผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 2 กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยเทคนิค GPAS 5 Steps จะทำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง และสามารถนำความรู้ไปใช้ทำประโยชน์ได้ ซึ่งจะทำให้การศึกษามีความแข็งแกร่ง  เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติในอนาคต อย่างไรก็ตามคิดว่าโครงการอบรมลักษณะนี้ถ้าจะให้เกิดความยั่งยืนก็สมควรจะทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะถ้าทำให้ครบทุกระดับการศึกษาก็จะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะโลกทุกวันนี้ความรู้เปลี่ยน วิธีการเปลี่ยน ครูก็ต้องได้รับความรู้ที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงจะได้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเด็กเพื่อพัฒนาการศึกษาต่อไป

“กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เมื่อเด็กได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองจะสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ระเบียบ สามารถนำไปต่อยอดใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการทำงานได้แน่นอน โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ คิดเป็น ทำเป็น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างสังคมและประเทศชาติให้อยู่ดีมีสุขได้ ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะให้โครงการนี้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดความสุมบูรณ์ของการศึกษาไทย”รอง ผอ.สพป.นครสวรรค์ เขต 2 กล่าว

“อรรถพล” มั่นใจ ทั่วโลกพร้อมยอมรับคุณภาพการศึกษาไทย ห่วงผู้สูงวัยปรับตัวไม่ทันความผันผวนของโลก

 

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา แถลงภาพรวมความคืบหน้าการประชุมสภาการศึกษานานาชาติ ประเด็นบทเรียนความสำเร็จและแนวนโยบายที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในรูปแบบการประชุมโต๊ะกลม (Round Table) โดย

ดร.อรรถพล เปิดเผยว่า การประชุมฯ รูปแบบ Round Table เป็นความร่วมมือระหว่างสภาการศึกษาไทย กับ UNESCO, UNICEF SEAMES, World Bank, OECD SEAMEO INNOTECH, Beijing Foreign University, British Council, สภาหอการค้าไทย สถานทูตฟินแลนด์ อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ ลาว ประจำประเทศไทย หอการค้าไอซ์แลนด์ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่าง ๆ วิทยากรด้านการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในระบบออนไซต์และออนไลน์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องบทเรียนความสำเร็จและแนวนโยบายที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นการรวบรวม แลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์ในด้านการศึกษาที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป

การจัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงการดูแลและส่งเสริมให้ครู นักเรียน ครอบครัวและผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต ซึ่งการจัดการศึกษาในอนาคตนั้น ควรจะมีการจัดการศึกษาด้วยหลักสูตรที่ยืดหยุ่น มีการผ่อนผันกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ รวมถึงการมุ่งเน้นให้มีการสร้างกรอบความคิดให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนรู้ที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและพัฒนาให้ยั่งยืน รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมทักษะในการปกป้องสิ่งแวดล้อม

นอกจากการพัฒนาผู้เรียนแล้ว ควรมีนโยบายเพื่อการพัฒนาและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ครูผู้สอน รวมถึงปัญหาภาระงานเกินกำลังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ปัญหาภาระงานครูที่นอกจากการสอน ภาระงานประเมิน ภาระงานครูที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้ครูไม่มีเวลาในการเอาใจใส่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถพัฒนาทักษะความรู้เพิ่มเติมให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยการปรับปรุงโครงสร้างจากภาครัฐ ทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ การร่วมมือจากชุมชน ตลอดจนการปรับแก้โครงสร้างของระบบการศึกษาให้เหมาะสมกับนโยบายการลดงานครูและบุคลากรทางการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ในการสร้างแรงผลักดันและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 4 คือการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ประกอบกับนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ที่มีเป้าประสงค์หลักเพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นอยู่ที่ดี และทำให้ผู้เรียนมีความสุข โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษา 2 ข้อหลัก คือการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต

ถือเป็นความท้าทายในการพัฒนาให้ “ภายในปี 2030 ผู้เรียนทุกคนจะได้รับความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการพัฒนา อาทิ สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคหญิงชาย สันติวัฒนธรรม และการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองโลก ความชื่นชมต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา ด้วยการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตที่ยั่งยืน”

สำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในชั้นเรียน การศึกษาไทยและทั่วโลกในอนาคตนั้น จะมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ครูผู้สอนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยครูในการลดขั้นตอนการทำงาน สามารถใช้ในการออกแบบการสอน วางแผนการสอน เพื่อความสะดวก ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป เพราะฉะนั้นครูผู้สอนจึงต้องมีการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน และสิ่งสำคัญคือการพัฒนาการใช้ AI ควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรม ซึ่งถ้าผู้ใช้ไม่มีหลักคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีแล้ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต เป็นสิ่งที่ผู้บริหารการศึกษาต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาทำอย่างไรให้การพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาผู้ใช้อย่างมีจริยธรรม

สิ่งที่น่ากังวลคือปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 20% สวนทางกับอัตราการเกิด ผู้สูงอายุจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวต่อความผันผวนของโลกได้ และขาดทัศนคติในการเรียนรู้ ดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของผู้สูงวัย เพื่อเข้าสู่ระบบการทำงานที่เหมาะสม จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ประเทศรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ภายใต้สภาวะที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณภาพ และยังช่วยลดปัญหาการขาดแรงงานที่มีทักษะ เพราะผู้สูงอายุเหล่านี้ยังมีทักษะฝีมือที่พัฒนาตามประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้น ในส่วนของประเทศไทยภาครัฐจึงควรร่วมมือกับภาคเอกชน ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพในผู้สูงวัย มีการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับช่วงวัย มีการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อช่วยลดปัญหาในการใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านสาธารณสุขและสังคม สิ่งสำคัญคือการจัดทำแผนการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในทุกระดับ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนแผนการพัฒนาผลการจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทย IMD ด้านการศึกษาปี 2568 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบและการจัดเก็บข้อมูลทางการศึกษาและส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาของประเทศให้ภาคเอกชน การพัฒนาตัวชี้วัดการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA การเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามที่ World Economic Forum (WEF) กำหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมคนให้มีความรู้ มีทักษะ มีความพร้อมในการพัฒนาอนาคตของประเทศไทย

“การประชุมสภาการศึกษานานาชาติในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้ทุกท่านได้เห็นภาพทางการศึกษาของโลกได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบการศึกษาของต่างประเทศที่ทุกคนเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย การพัฒนาด้านการศึกษาไทยจะต้องทัดเทียมนานาชาติ เพราะเรามีมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ที่จะสามารถกำหนดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้นให้มีคุณภาพ เป็นแนวทางในการส่งเสริมการศึกษาให้เทียบเท่าสากล สิ่งสำคัญคือทุกหน่วยงานทางการศึกษาต้องร่วมมือกันจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิต คุณภาพเศรฐกิจ และคุณภาพสังคมไทย ในสภาวะที่โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง”ดร.อรรถพล กล่าว

“เสมา 2” ชู ทุน พสวท.เป็นฟันเฟืองสำคัญสร้างกำลังคนช่วยผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้มีคุณภาพสู่ระดับสากล​ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ พร้อมมอบ โล่เกียรติคุณ ต่อผู้ทำคุณประโยชน์แก่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และทุน พสวท.และมอบเสื้อ พสวท.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ศ.ดร.ประสาท สืบค้า ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) รศ.ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผอ.สสวท. ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร นักเรียน นิสิต และนักศึกษา เข้าร่วม

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้แต่ละประเทศ จะต้องคิดกลยุทธ์ให้กับประเทศของตนเอง รวมถึงประเทศไทยที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา ตั้งแต่ฐานราก และวางอนาคตอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน การเตรียมพื้นฐานความรู้ให้แก่เยาวชน ทั้งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต ฉะนั้นการส่งเสริมการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ ที่ว่าด้วยเรื่องของโลกและวัตถุต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ ในขณะเดียวกัน เด็กไทยในอนาคต ก็ต้องคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม ควบคู่กับการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ ที่มีความทันสมัยด้วยเช่นกัน การศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการฝึกคิด วิเคราะห์ ค้นคว้า และพัฒนาไปสู่การดำรงชีวิตในโลกอนาคตจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความจำเป็น โดยเฉพาะปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญถึงขีดสุด อิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของเราในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการเตรียมคน ไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต

“การที่ไทยจะเป็นประเทศนวัตกรรม หัวใจสำคัญคือ คนไทยต้องมีความพร้อม ด้านการศึกษา ที่มีการเชื่อมโยงความรู้ด้านต่าง ๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ให้มีทักษะความรู้​ ความสามารถ โดยเฉพาะการพัฒนาความสามารถด้าน SMT และภาษาต่างประเทศ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้บุคลากรไทยมีความพร้อม รองรับต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่มุ่งไปสู่เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยยึดหลักการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มีเป้าหมายนำไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผล และคำนึงถึงส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งทุกหน่วยงานที่มาร่วมงานในวันนี้ถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศต่อไป”รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า การจัดงานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท. นี้ ถือเป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการเผยแพร่ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เยาวชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้รับทราบ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังช่วยผลักดันให้กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศมีคุณภาพสู่ระดับสากล “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 40 ปีที่ผ่านมา ทุน พสวท. ได้ทำการบ่มเพาะ พัฒนาและผลิตนักวิทยาศาสตร์นักวิจัย และนวัตกร ซึ่งถือเป็นฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการยกระดับของการศึกษา เพื่อเป็นฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว และนำไปสู่ความยั่งยืนของประเทศในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ขอขอบคุณคณะผู้จัดงาน วิทยากร ผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานในวันนี้ ขอให้การจัดงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และหวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้

Focusnews.สะท้อนปัญหาการศึกษาไทย ในยุคที่มีแต่ความลับ…

เหลือเพียงเดือนเศษ ๆ ก็จะครบ 1 ปี ของการเข้ามาคุมบังเหียนการศึกษาของพรรคภูมิใจไทย ด้วยการส่ง พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ  1 ใน 3 อดีตข้าราชการตำรวจในรัฐบาลยุค “เศรษฐา 1”  (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ  พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ  พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง) มานั่งเก้าอี้ เสมา 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ส.ส.พระนครศรีอุยธยา เขต 3 รับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ เสมา 2  และ “สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ”  “เสี่ยโต้ง แห่งเมืองดอกลำดวน” เข้ามารับบทผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ

โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566  พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ภายใต้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” ที่เน้นการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา 4 ด้าน ปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะ, ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่นด้วยความโปร่งใส, แก้ไขปัญหาหนี้สิน, จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ 1 ครู 1 Tablet และเร่งลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง 6 ด้าน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา, 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ, ระบบแนะแนวการเรียนและเป้าหมายชีวิต, การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ, การจัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา, มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ

ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 10 เดือนมานี้ ชาวการศึกษาต่างพยายามเดินหน้าและขับเคลื่อนงานตามแนวปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การ “เรียนดี มีความสุข” ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ แต่ระหว่างทางเดินย่อมเป็นธรรมดาที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้  กว่าจะเห็นผลไม่ใช่แค่ปีสองปีแล้วเด็กจะมีความสุขได้ ผู้ปกครองจะมีความสุข ครูจะมีความสุข ผู้บริหารจะมีความสุข ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นการเดินบนพื้นที่มีแต่อุปสรรค ความขาดแคลน บนความไม่พร้อม และปัญหาต่าง ๆ มากมาย

อย่างการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ทุกรัฐบาลรู้ ทุกรัฐบาลเห็นปัญหา พยายามแก้ไข หาทางช่วยลดดอกเบี้ย หาทางรวมหนี้มาไว้ที่เดียว ห้ามก่อหนี้เพิ่ม ต้องสร้างวินัยทางการเงิน ถึงแม้จะมีหลายแหล่งทุนให้ความร่วมมือเปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ที่สุดแล้วเอาเข้าจริงไม่มีใครกล้ายืนยันหรอกว่าปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรการศึกษาแก้ไขได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่อย่างน้อยก็เป็นความหวังให้ครูมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความสุข แล้วหันมาทุ่มเทให้กับการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น

อย่างเรื่องการอุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของนโยบาย  เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere  AnyTime) เรียนฟรี มีงานทำ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะมีการสร้างระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เรื่องนี้ก็ยังอึมครึมไม่รู้ทิศทางจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนแม้แต่เจ้ากระทรวง รู้แต่เพียงคร่าว ๆ ว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา(Anywhere  AnyTime) เป็นงบประมาณผูกพัน 5 ปี (2568-2572)วงเงิน 22,102,973,600 บาท โดยงบประมาณปี 2568 ได้รับจัดสรรมา 3,000 กว่าล้านบาท จากที่ขอไป 7,000 กว่าล้าน ส่วนปีงบประมาณ 2567 งบประมาณ 400 กว่าล้านบาทก็หมดไปกับค่าจ้างที่ปรึกษาซะเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ 200,883,400 บาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ 245,000,000บาท  แล้วก็ค่าเช่าระบบประมวลผลบนคลาวด์ 36,380,000 บาท รู้แค่นี้จริง ๆ

แต่ที่รู้เห็นได้ชัดตอนนี้คือ ข่าวการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนองค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)ที่ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์(1977)จำกัด คู่พิพาทตั้งแต่ปี 2566 ออกมาฟ้องกราวรูด ต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ซึ่งองค์การค้าของสกสค.ได้ผูกขาดพิมพ์หนังสือแบบเรียนให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)มาอย่างยาวนาน โดยการพิมพ์หนังสือเรียนขององค์การค้าฯที่ผ่านมามีเพียง 5 เสือโรงพิมพ์ ที่ได้พิมพ์หนังสือกับองค์การค้าฯ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าการดำเนินการที่ผ่านมาทำถูกต้องตามระเบียบพัสดุจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ จนกระทั่ง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ เริ่มเข้ามาประกวดราคาเมื่อปี 2566 และได้ร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างพิมพ์แบบเรียนขององค์การค้าของ สกสค. โดยวิจารณ์ร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) 3 ข้อ  และยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้ข้อกำหนดทีโออาร์ดังกล่าว ซึ่งต่อมาศาลสูงสุดได้มีคำสั่งตามศาลปกครองกลางในการทุเลาการบังคับใช้ข้อกำหนดทั้ง 3 ข้อ ตามที่ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ยื่นฟ้อง กรณีนี้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ไม่ได้ร้องให้ยกเลิกประกาศทีโออาร์ ขณะที่ปี 2567 ได้ร้องเรียนให้ยกเลิกประกาศทีโออาร์ 4 ครั้ง แต่ผู้บริหารองค์การค้าฯได้ออกมาให้ข่าวว่าบจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ มีหนังสือร้องเรียนให้ยกเลิกทีโออาร์ ทั้งหมด 17 ฉบับ ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ทันทีว่าไม่เป็นความจริง การให้ข่าวลักษณะนี้ทำให้ภาพพจน์ของ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ฯได้รับความเสียหาย พร้อมตอบกลับมาว่า การพิจารณาราคาจัดซื้อจัดจ้างพิมพ์แบบเรียนปี 2566 มีการพิจารณาราคาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากองค์การค้าของ สกสค. มีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนน โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้เข้าประกวดราคารับทราบ มากำหนดหลักเกณฑ์ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ทั้งที่ร่างประกวดราคาประกาศตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 โดยในร่างทีโออาร์ระบุเพียงผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีเอกสารยืนยันรับรองจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า และกระดาษต้องมีคุณสมบัติตามที่ทีโออาร์กำหนด แต่ในเอกสารวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ได้มีการระบุถึงคุณสมบัติของผู้รับรองกระดาษ ซึ่งทาง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้ ทำให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ถูกตัดคะแนนไป 6 คะแนนในข้อนี้ เนื่องจากทาง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ได้ยื่นเอกสารรับรองจากผู้นำเข้า ทำให้รายการที่ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ได้รับการประกาศเป็นผู้ชนะ จะต้องเสนอต่ำกว่าผู้เสนอรายอื่น 12% ทำให้ได้รับการประกาศเป็นผู้ชนะ12 รายการ จาก 96 รายการที่ยื่นเสนอราคาต่ำสุด และจุดนี้จึงเป็นสารตั้งต้นให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ร้องเรียนองค์การค้าฯเรื่องการล็อกสเปกกระดาษด้วย ซึ่งกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ(กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฏร ก็เชิญบริษัทกระดาษไปชี้แจงในหลายประเด็นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นองค์การค้าฯจ่ายค่าจ้างผลิตแบบเรียนให้กับบริษัทกระดาษโดยตรง แทนที่จะจ่ายให้โรงพิมพ์คู่สัญญา

ส่วนปี 2567 บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ คิดว่าการกำหนดทีโออาร์ โดยแบ่งเป็น 30 กลุ่ม และเลือกได้เพียงกลุ่มละ 1 เล่ม เป็นการกีดกัน บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ให้รับงานได้ไม่เกิน 5 ล้านกว่าเล่ม ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ สามารถที่รับงานผลิตได้มากกว่านี้ และบจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ คิดว่าการแบ่งกลุ่มแบบนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการฮั้วประมูลอันจะทำให้รัฐเสียหาย และทำให้เด็กผู้ปกครองต้องจ่ายเงินเกินความเป็นจริง โดย บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ได้ออกแถลงการณ์ตั้งข้อสังเกตว่าทางองค์การค้าของ สกสค. ออกข้อกำหนด เอื้อให้เอกชนทั้ง 5 เสือ ฮั้วประมูลกัน เพราะการเสนอราคาแทบจะไม่ชนกันเลย

ต่อมา เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.ตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ ขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างขอบข่ายงานรายละเอียดและคุณลักษณะ(TOR)การจ้างพิมพ์หนังสือเรียนปี 2567 จำนวน 151 รายการ โดยวิธีการคัดเลือกไม่ชอบด้วยกฎหมายและส่อไปในทางทุจริต ซึ่ง พล.ตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ผลสรุปพบว่า ทุกขั้นตอนมีความโปร่งใส  ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ก็ได้เข้าไปยื่นประกวดราคาจ้างพิมพ์หนังสือองค์การค้าฯตามขั้นตอน และชนะการประกวดราคามา 30 รายการ 5.3 ล้านเล่ม จำนวนเงิน 172 ล้านบาท  และได้ดำเนินการเดินเครื่องพิมพ์หนังสือเรียนองค์การค้าฯ เพื่อให้เสร็จทันก่อนเปิดเทอมวันที่ 16 พฤษภาคม 2567

แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อองค์การค้าฯส่งปกหนังสือเพื่อเคลือบและเข้าเล่มให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ไม่ครบ เป็นสาเหตุให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ขอขยายเวลาส่งหนังสือออกไปอีก 15 วัน แต่องค์การค้าฯ นอกจากจะไม่ขยายเวลาให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ แล้วยังบอกเลิกสัญญาจ้างในวันเดียวกันด้วย ก็ไม่ทราบว่าเป็นความคิดของใคร เพราะผู้เขียนมองว่าเป็นการตัดสินใจผิดพลาดอย่างแรง เพราะผลที่ตามมาทำให้ บจ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ ฟ้องกราวรูด ตั้งแต่ฟ้องหมิ่นประมาท พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ และพรรคพวก ฟ้องบอร์ดสกสค. ฟ้อง สพฐ.และ สสวท.และ ฟ้องผู้บริหารในองค์การค้าฯที่เกี่ยวข้องทั้งชุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ก็รับเรื่องไปดำเนินการสืบสวนต่อ กรมบัญชีกลางก็ออกมาให้ความเห็นว่าการจัดซื้อจัดจ้างขัดต่อหลักการพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 แถม กรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ(กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฏร ก็กำลังไล่บี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อสรุปเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)

และล่าสุดมีเรื่องที่น่าตกใจสำหรับวงการศึกษาอีกแล้ว เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้มีการจัดงานแถลงข่าวประกาศผลการประเมินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ว่า คะแนน ITA โดยรวมของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ 82.66 คะแนน ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นต่ำ 85 คะแนน โดยพบว่ามีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินใน 4 ด้านประกอบไปด้วย 1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 81.59 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้  75.81 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 77.27คะแนน และ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 75.64 คะแนนขณะที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้คะแนน ITA ต่ำที่สุดและไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินประกอบมีด้วยกัน 5 หน่วยงานประกอบไปด้วย 1.กองทุนสงเคราะห์ได้ 57.92 คะแนน 2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ 65.23 คะแนน 3.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้ 74.41 คะแนน 4.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 80.63 คะแนน และ 5. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้84.89 คะแนน และถ้าเจาะลึกรายละเอียดรายหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้คะแนน ITA ไม่ถึง 85 คะแนนว่าแต่ละหน่วยไม่ผ่านตัวชี้วัดในด้านใดบ้าง จะได้รายละเอียดเชิงลึก ๆ 1.กองทุนสงเคราะห์ ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้านได้แก่ 1.ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 74.96 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 60.68 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 32.38 คะแนนและ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 0.00 คะแนน 2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 80.87 คะแนน 2. การปรับปรุงการทำงานได้ 77.72 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 49.05 คะแนน และ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 16.67 คะแนน 3.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 2 ด้านได้แก่ 1.การปรับปรุงการทำงานได้ 74.16 คะแนน และ 2.การป้องกันการทุจริตได้ 75.00 คะแนน

สรุปแล้วก็ไม่มีพรรคไหนเข้ามาแก้ปัญหาการศึกษาอย่างจริงจัง นโยบายแต่ละพรรคที่เข้ามาดูเหมือนจะดี แต่สุดท้ายก็ไม่เห็นอะไรเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ลงที่หลักสูตรว่าล้าสมัยต้องปรับปรุงใหม่ ไม่หันกลับไปมองว่าการบริหารราชการมาถูกทิศถูกทางหรือไม่? แถมยังทำงานกันแบบ..ลับ..ลับ..ลับ

สกศ. ตั้งเป้ายกระดับการศึกษาภายใต้สภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ​สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศด้านการศึกษา อาทิ องค์การยูเนสโก ประเทศไทย องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดจัดการประชุมสภาการศึกษานานาชาติ เรื่อง ความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป (International Education Council Seminar on Education Competitiveness  in a Global Changing Environment) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2 สิงหาคม 2567 เพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาร่วมกับองค์การชั้นนำระดับนานาชาติ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก OECD

ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ปี 2567 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยตั้งรับมือกับความท้าทายทางการศึกษาในระดับนานาชาติหลายประการ อาทิ การเตรียมความพร้อมในการทดสอบ PISA ในปีหน้า การยกระดับผลการจัดอันดับ IMD และการเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นชาติสมาชิก OECD ซึ่งทุกประเด็นเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ส่งผลต่อการจัดการศึกษาเป้นอย่างยิ่ง โดย สกศ. ได้สังเคราะห์บริบททุกมิติที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการศึกษา พบว่า บริบท 4 มิติที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษามากที่สุดในปัจจุบัน ประกอบด้วย สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สกศ. จึงได้นำผลการสังเคราะห์นี้ มาเป็นธีมหลักในการจัดการประชุมในครั้งนี้

ดร.อรรถพล กล่าวว่า ไฮไลท์สำคัญของการปะชุมในครั้งนี้ คือ การเชิญตัวแทนด้านการศึกษาองประเทศต่าง และผู้แทนหอการค้าต่างประเทศเข้าประชุมหารือในรูปแบบ Round Table เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาที่จะรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน  4 ด้าน ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากการประชุม Round table นั้น จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั้งจากประเทศไทยละต่างประเทศรวมกว่า 30 ท่าน และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากองค์การระหว่างประเทศด้านการศึกษากว่า 10 หน่วยงานทั่วโลก ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชฑูตและหอการค้าต่างประเทศ ประจำประเทศไทยกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกียวข้องรวมมากกว่า 200 ท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 10 หน่วยงาน ในประเด็นเกี่ยวกับผลการขับเคลื่อนการยกระดับการศึกษาไทยที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

​“การประชุมสภาการศึกษานานาชาติครั้งนี้ จัดแบบผสมผสานระหว่างการประชุม Onsite และ Online โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีการนำเสนอข้อมูลใน 4 หัวข้อหลัก ตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาในปี 2024  ได้แก่ 1) นโยบายการศึกษาในสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป  2) นโยบายการศึกษาในสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  3) นโยบายการศึกษาในสภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและ 4) นโยบายการศึกษาในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการประชุมจะเป็นองค์ความรู้และข้อเสนอที่ตอบคำถามในประเด็นทางการศึกษาต่าง ๆ คือ 1) สถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในโลก อย่างไร 2) ปัจจัยความสำเร็จที่จะทำให้ระบบการศึกษามีภูมิคุ้มกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว คืออะไร 3) ลักษณะของระบบการศึกษาที่ดีที่จะสามารถรับมือและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ เป็นอย่างไร และ 4) ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป” ดร.อรรถพล กล่าวและว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับการทำงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสู่ระดับโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวเข้าสู่ชาติสมาชิกของ OECD ซึ่งในภารกิจด้านการศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ นอกจากนี้ การจัดการประชุมครั้งนี้ จะทำให้ประเทศต่าง ๆ เห็นศักยภาพของประเทศไทยด้านการศึกษาที่พร้อมจะแสดงบทบาทเป็นผู้นำด้านการศึกษาในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ สุดท้ายนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้วางแผนต่อยอดและรักษาเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในการประชุมครั้งนี้สู่การจัดตั้งสภาการศึกษานานาชาติให้กลายเป็นองค์กรนโยบายและแผนการศึกษาที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและแนวโน้มทางการศึกษาในระดับโลกในอนาคต

มท. – ศธ.- อว. สนองนโยบายนายกฯ ทำ MOU​ ร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจริงจัง 

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567​ ที่ กระทรวง​มหาดไทย  นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย​ พล.ต.อ.เพิ่มพูน​ ชิด​ชอบ​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ และนางสาวศุภมาส​ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น​ประธาน​ใน​พิธี​ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ระหว่าง​กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม​ โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ​ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุเทพ แก่งสันเทียะ​ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามฯ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีขึ้นเพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงความร่วมมือกัน
ของหน่วยงานในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

นายอนุทิน​ กล่าวว่า​ รัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน​ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ​ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วน โดยให้เป็นมาตรการเชิงรุก ทั้งการป้องกันและปราบปราม​ เนื่องจากเป็นภัยอันตรายที่บั่นทอน สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สำคัญ จึงต้องมีมาตรการป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแต่แรก โดยการลดจำนวนผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพหน้าใหม่ ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา จะต้องอาศัยความร่วมมือกับสถานศึกษา โรงเรียนวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ฯลฯ เพื่อป้องกันนักเรียน นักศึกษา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด นอกจากนั้น ครู บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ จะต้องครองตน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าในรูปแบบใด ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อถือศรัทธา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้

นายอนุทิน​ กล่าว​ต่อไป​ว่า​ การแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยแนวทางดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวง​การอุดมศึกษาฯ ซึ่งจะต้องบูรณาการความร่วมมือกัน ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ และสร้าง “ค่านิยม” แก่เด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกสถานศึกษา ให้มีคุ้มกัน​ รู้เท่าทันโทษภัยของยาเสพติด มีทักษะการใช้ชีวิต มีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับการดำรงชีวิตในสังคม ส่วนกระทรวงการอุดมศึกษาฯ นอกจากจะมีหน้าที่หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้ว ยังต้องมีบทบาทนำในการบริหารจัดการให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ ในการเฝ้าระวัง และป้องกันยาเสพติดในระดับพื้นที่ รวมถึงพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นบริบทแวดล้อมของสภาพปัญหา ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับกระทรวงมหาดไทย ก็มีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันปราบปราม และบังคับใช้กฎหมาย โดยประสานงานใกล้ชิดกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำความผิด นอกจากนี้ ยังต้องจริงจังกับภารกิจด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะนั่นคือพื้นฐานของการป้องกันปัญหาสังคมในทุกมิติ รวมถึงการสร้างความ
เข้มแข็งให้ชุมชนปลอดจากยาเสพติด อันจะเป็นการเสริมพลังการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ​ ด้วย

“ผมเชื่อว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้จะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดดำเนินไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไร้รอยต่อ และบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ผมขอเป็นกำลังใจให้หน่วยงานทุกภาคส่วนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง เพื่อร่วมกันนำพาประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป” นายอนุทิน​ กล่าว

 

กองทุนสื่อฯ เปิดตัวโครงการ “ไทยแลนด์ ลองสเตย์” ภาพยนตร์สารคดีพหุวัฒนธรรม พร้อมมอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายและคลิป MV 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ นางภัคนันท์ ธนาศรม หัวหน้าโครงการไทยแลนด์ ลองสเตย์ จัดงานเปิดตัว “โครงการไทยแลนด์ ลองสเตย์” โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2566 ผลิตภาพยนตร์สารคดี เพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของพหุวัฒนธรรม ณ บริเวณลานหน้าห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 มิวเซียมสยาม
โครงการไทยแลนด์ ลองสเตย์ ผลิตสารคดีพหุวัฒนธรรม จำนวน 12 ตอน ความยาวตอนละ 25 นาที จะออกอากาศทาง ALTV และ ViPA เพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของพหุวัฒนธรรม  โดยได้รับเกียรติจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (พชร.) หรือมิวเซียมสยาม เป็นพันธมิตรสนับสนุนสถานที่จัดงาน ภายในงานมีการเปิดนิทรรศการภาพถ่าย และพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายพหุวัฒนธรรมในมุมมองของฉัน  และการประกวดคลิปสั้น ในหัวข้อ “พหุวัฒนธรรมในมุมมองของฉันประกอบเพลงไทยแลนด์ลองสเตย์” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสื่อสารให้ประชาชน ได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของพหุวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี บนวิถีแห่งพหุวัฒนธรรม รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ช่วงท้ายมีการจัด เวทีเสวนา ในหัวข้อ “ไทยแลนด์ ลองสเตย์” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ในหลากหลายมิติของพหุวัฒนธรรม ได้แก่ คุณพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร ผู้ประพันธ์เพลง, คุณภัคนันท์ แสงขำ ธนาศรม หัวหน้าโครงการไทยแลนด์ ลองสเตย์, Mr. Wim J F Simons แขกรับเชิญจากรายการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และนายอภินันท์ บัวหภักดี ช่างภาพอาวุโสอิสระ อดีตบรรณาธิการอนุสาร อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นกรรมการตัดสินภาพถ่าย
สำหรับผู้ชนะ การประกวดคลิปประกอบเพลงฯ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่
1. คลิปขอเป็นคนไทยด้วยคน โดย มร.โรเมล คารัมเบล
2. คลิป WONDERFUL THAILAND โดย คุณประสงศ์ กรรโมทาร
3. คลิป DIVERSITY OF OUR COUNTRY โดย คุณศรายุทธ สุดราม
4. คลิปสองล้อส่องพหุวัฒนธรรม โดย คุณณัฐวุฒิ แสงตรง
และรางวัล POPULAR VOTE TikTok และ Facebook VOTE สูงสุดได้แก่ ลอยอยู่แล  โดยคุณภาคิณ ผู้กำจัด
รางวัลผู้ชนะ การประกวดภาพถ่าย จำนวน 5 รางวัล ได้แก่
1. ภาพบันทึกพุทธศิลป์ โดย คุณจิตรกร เขียวสะอาด
2. ภาพตักบาตรบนหลังช้าง โดยคุณโกวิท พลาศรี
3. ภาพแห่งดาวเทศกาลคริสต์มาส โดย คุณเอนกพงศ์ สงสกุล
4. ภาพตักบาตรพระร้อยทางเรือ โดย คุณศักดิ์นิรันด์  คุ้มเมือง
5. ภาพนวราตรี ณ วัดแขก โดย คุณหทัยชนก โล่สุนทรชัย
โครงการไทยแลนด์ ลองสเตย์ ขอเชิญชวน ประชาชนทั่วไป และผู้สนใจ ชมนิทรรศการภาพถ่าย ที่มิวเซียมสยาม และสามารถติดตามกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งคลิปสั้น และภาพถ่าย ของผู้ส่งเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ที่สื่อ Facebook : Thailand longstay
                           

“ครูนครสวรรค์” ตื่นตัว แห่เข้าอบรมจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หวังร่วมพลิกโฉมการศึกษาด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดโครงการพัฒนาครูต้นแบบในเขตภาคกลาง เพื่อ “พลิกโฉม คุณภาพการศึกษาโดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21” ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบไปสู่การสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร อันเป็นกิจกรรมสำคัญของการอบรมครู ตามโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและ บุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระดับประถมศึกษาที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ดร.ศุภวิชญ์ ดิษเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)นครสวรรค์ เขต 1 กล่าวว่า จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 มีการอบรมการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning มาบ้างแล้ว แต่วันนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ โรงเรียนในโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ทั้ง 5 โรง ในสังกัด สพป.นครสวรรค์ เขต 1 ได้มาเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning ด้วยกระบวนการเรียนคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อนำกลับไปสู่ผู้เรียน

“จากที่ได้ศึกษาพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning ด้วยกระบวนการเรียนคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เชื่อว่า การอบรมวันนี้จะเป็นการเสริมอาวุธทางวิชาการให้ครูนำกลับไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ และเชื่อว่าอย่างน้อยเด็กจาก 5 โรงเรียนจะได้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ( 3 R 8 C ) เพราะนักเรียนจะได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับครูไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและนำไปสู่การเป็นนวัตกรต่อไป

ดร.ดวงพร แสงทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ จะทำให้ครูมีเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ซึ่งเมื่อครูนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้แล้วจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนที่ดีมากขึ้นได้ เกิดสิ่งที่สร้างสรรค์มากขึ้น มีผลการเรียนดีขึ้น และเข้าใจทักษะของกระบวนการเรียนมากขึ้น รวมถึงสามารถคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ หลังจากครูรับการอบรมแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการโค้ชชิ่ง คือ เมื่อครูนำไปใช้เกิดปัญหาหรือข้อสงสัยก็สามารถมาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากทีมวิทยากร เพื่อกลับไปพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทั้งของผู้สอนและผู้เรียน และหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการค้นหาครูต้นแบบต่อไป

ดร.สาริกา ราชบุญทอง รอง ผอ. สพป. นครสวรรค์ เขต 3  กล่าวว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนมาก เนื่องจากบริบทของโลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเรายังยึดติดกับการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เราไม่สามารถสร้างผู้เรียนให้ทันโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงได้  จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ครูจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้การจัดการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นพื้นฐานของการนำไปสู่สมรรถนะเพราะฉะนั้นการที่ครูสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ จะนำไปสู่การสร้างผู้เรียนที่ทันต่อโลกของการเปลี่ยนแปลง

ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า หัวใจสำคัญของหลักสูตร คือกระบวนการ ซึ่งจะพาเด็กคิด เด็กทำ เด็กประเมินจนสามารถพัฒนาผลงานเป็นนวัตกรรม นอกจากกระบวนการเรียนรู้ในเชิงวิชาการแล้วเนื้อหาจะต้องเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ดังนั้นไม่ว่าเนื้อหาการเรียนรู้จะเป็นอดีตจนถึงปัจจุบัน หรืออนาคต เราจะต้องนำกระบวนการเรียนรู้มาเป็นตัวหลัก เพื่อให้ผ่านกระบวนการคิดมากรอง ให้เป็นเหตุและเป็นผล ประโยชน์และโทษในสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากนั้นก็จะมาวิเคราะห์ถึงความงาม ความดี คุณธรรม และค่านิยมของมนุษย์ จะนำไปใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถ้าใช้ได้จริงก็ต้องมีการวางแผนให้เป็นขั้นเป็นตอนจนเกิดผลที่ปลายทางโดยไม่เจออุปสรรค์ ซึ่งก็คือกระบวนการคิดเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ตามหลักสูตร

“หลักสูตรที่ใช้อยู่เป็นมาตรฐานสากล และเป็นมาตรฐานที่ประเทศชั้นนำใช้อยู่ ประเด็นสำคัญที่สุด คือ จะปรับเปลี่ยนวิธีสอนวิธีเรียนอย่างไรให้เป็น Active Learning ตามแนวทางแผนปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เราประกาศใช้แล้ว และ สพฐ. กำลังนำร่องแล้วขยายผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับนักเรียนทั่วประเทศ อีกทั้งกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ได้นำไปใช้ทั่วโลก ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นเนื้อหาก็เป็นเพียงมาตรฐานตัวชี้วัดของสมรรถนะต่าง ๆ ทั้งนี้จากการลงพื้นที่อบรมพัฒนาครูให้เรียนรู้การเรียนการสอนแบบ Active Learning 80% ครูเริ่มเข้าใจแล้วและสามารถนำหลักการเรียนรู้นี้ไปสอนเด็กให้เข้าใจได้ และเด็กสามารถนำหลักการไปเรียนรู้ได้ทุกศาสตร์ และถึงแม้ว่าขณะนี้เด็กอยู่ในยุคดิจิทัล ถ้าเด็กเรียนรู้ถึงกระบวนการคิดและเข้าใจทุกศาสตร์ทุกวิชาแล้ว เด็กจะสามารถเรียนรู้ไปได้ไกล และจะสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยตัวเอง”ดร.ศักดิ์สิน กล่าว

นายจตุรวิทย์ สระทองขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนเกยชัยเหนือ กล่าวว่า ยอมรับว่าเมื่อจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนก็ต้องมีความยุ่งยากเกิดขึ้นแน่นอน แต่วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของครูที่ได้มารับการอบรมเพื่อนำแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้กลับไปพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น

นางสลิลทิพ ชูชาติ โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ  กล่าวว่า ที่โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ ได้มีการสร้างความตระหนักในเรื่องการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการให้กับครูเพื่อนำไปสู่นักเรียนมาโดยตลอด โดยให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะของโครงงานที่เป็นการร่วมกันคิดและปฏิบัติโดยใช้กระบวนการเรียนรู้  ซึ่งการที่ครูได้เข้าร่วมการอบรมวันนี้จะช่วยครูได้มากทีเดียว

ดร.จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร ครูวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)สุพรรณบุรี กล่าวว่า ครูที่เข้ามาอบรมจะได้เห็นแนวทางการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ครูได้ร่วมมคิดและฝึกทักษะกระบวนการ จนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการเรียนคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps และรู้แนวทางว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป

ศธจ.สมุทรสงคราม สุดล้ำเสริมพลังครูด้วยปัญญาประดิษฐ์ “AI Empowered Teachers”

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI Empowered Teachers” เสริมพลังครูด้วยปัญญาประดิษฐ์ ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรสงคราม ณ หอประชุมโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม โดย ดร.สุเทพ กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษา การที่ครูและบุคลากรมีความรู้ และทักษะในการใช้ AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ช่วยให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ผู้เรียนในยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยลดภาระงานบางส่วนของครู ทำให้ครูมีเวลาในการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ที่สำคัญของเด็ก เช่น การสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน การพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้

“ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้านขอให้ทุกท่านเปิดใจรับความรู้ใหม่ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของเยาวชนและเชื่อมั่นว่าทักษะและความรู้ที่ครูได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ จะช่วยให้โรงเรียนเอกชนของจังหวัดสมุทรสงครามก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถสร้างเยาวชน  ที่มีความพร้อมสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว

ด้านนายปัญญา บูรณะนันทสิริ ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI Empowered Teachers” เสริมพลังครูด้วยปัญญาประดิษฐ์ ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 232 คน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน โดยส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้ครูและบุคลากรโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรสงครามทุกคน ได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้เครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์และถูกหลักจริยธรรม ทั้งนี้การอบรมได้ให้ความรู้ในเรื่อง กลไกการทำงานและข้อจำกัดของ AI การใช้ AI สร้างสื่อการเรียนรู้ การออกแบบแผนการสอนและกระบวนการเรียนการสอน

 

 

บอร์ด ก.ค.ศ.ไฟเขียวกรอบโครงสร้างงานบุคคล สกร. พร้อมกำหนดปฏิทินโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สกร.แล้ว

จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 โดยมี พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม นั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบการกำหนดชื่อตำแหน่งและวิทยฐานะ มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ การเข้าสู่ตำแหน่ง และการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.) สืบเนื่องจากมติ ก.ค.ศ.ในประชุมครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 มีมติให้ สกร.ดำเนินการจัดทำประกาศหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษา และกำหนดตำแหน่งและกรอบอัตรากำลัง ในหน่วยงานการศึกษาหรือสถานศึกษา รวมถึงให้ใช้มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม ว 3/2564 เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปพลางก่อน และได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ สกร.ประจำจังหวัด สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาค ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ และสถาบันการศึกษา และพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร มีสถานะเป็นหน่วยงานการศึกษา สกร.จึงได้จัดทำ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาที่ตั้งใหม่ทั้ง 4 หน่วยงาน  ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาค ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ และสถาบันการศึกษา และพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร สังกัด สกร. โดยที่ประชุม ก.ค.ศ. มีมติ ดังนี้

  1. กำหนดให้ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ข. (5) และกำหนดตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดให้มีวิทยฐานะ
    ตามมาตรา 39 จ.
  2. กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะผู้บริหารการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสำนักงาน/สถาบัน/ศูนย์ โดยมีรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
  3. การเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

3.1 กำหนดให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี อยู่เดิม เข้าสู่ตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี

3.2 ให้นำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย พ.ศ. 2565 ของ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ยังไม่ครบอายุการขึ้นบัญชี มาใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่กำหนดใหม่

3.3 ให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการหรือตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มาใช้เป็นคุณสมบัติหรือนับรวมต่อเนื่อง กับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ในตำแหน่งที่กำหนดใหม่ เพื่อเป็นคุณสมบัติในการเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้บริหารการศึกษาได้

  1. การขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

4.1 ให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการหรือตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มาใช้เป็นคุณสมบัติหรือนับรวมต่อเนื่องกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ในตำแหน่ง/วิทยฐานะที่กำหนดใหม่ เพื่อเป็นคุณสมบัติในการขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะได้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ด้วย

4.2 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. (เดิม) และ สาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ปรากฏในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.  ที่ ศธ 0206.4/ว 12 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 และ ที่ ศธ 0206.3/ว 22 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564 ให้หมายความรวมถึงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่กำหนดใหม่และการจัดการเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ด้วย

นอกจากนี้ ที่ประชุม ก.ค.ศ. ยังได้เห็นชอบ การกำหนดขนาดสถานศึกษา รายละเอียดตัวชี้วัดและคะแนนในการประเมินตามองค์ประกอบ การประเมินศักยภาพของผู้ประสงค์ขอย้าย (กรณีปกติ)ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สกร.ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งรายละเอียดตัวชี้วัดและคะแนนในการประเมินดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการฯ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด  และเห็นชอบการกำหนดปฏิทินการย้าย ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สกร. ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยขอเปลี่ยนแปลงการยื่นคำร้องขอย้าย จากเดิมวันที่ 1 – 15 กรกฎาคม 2567 เป็นวันที่ 1 – 15  สิงหาคม 2567 เนื่องจาก สกร. ได้รับความเห็นชอบให้กำหนดตำแหน่งและกรอบอัตรากำลังในหน่วยงาน การศึกษาหรือสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา รวมถึงได้เห็นชอบกำหนดให้การพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสกร. ปี 2567 ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

พร้อมกันนี้ บอร์ดก.ค.ศ.ยังได้อนุมัติให้ นายหงษ์ดี ศรีเสน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนวิสุทธรังษี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 และ อนุมัติ แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 เขต รวม 12 ตำแหน่ง