กกอ.เสนอใช้อำนาจ ม.44 จัดการปัญหาธรรมาภิบาล มทร.ล้านนา-ม.แม้โจ้“หมอธี” เผยรู้ข้อมูลแล้วพร้อมดำเนินการตามที่กกอ.เสนอ
กกอ.เสนอใช้อำนาจ ม.44 จัดการปัญหาธรรมาภิบาล มทร.ล้านนา-ม.แม้โจ้“หมอธี” เผยรู้ข้อมูลแล้วพร้อมดำเนินการตามที่กกอ.เสนอ
ทปอ.รับเคลียริงเฮาส์ TCAS รอบ 3/2 ยังมีปัญหากั๊กที่นั่ง แต่ปัญหาจะลดลง เชื่อเกิดเฉพาะมหาวิทยาลัยดังไม่เกิน 5 แห่ง แจงคัดเลือกเด็กตามลำดับไม่ได้ เหตุมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์พิจารณาเอง ไม่มีเกณฑ์กลางแบบแอดมิชชัน ห่วงเด็กคะแนนสูงยังไม่รู้จักตัวตน ไม่มีเป้าหมายชัดเจนในการเลือกเรียน ด้านผู้ปกครองพ้อระบบทำเครียดทั้งบ้าน ลูกถึงกับร่ำไห้ เผยเคยทำหนังสือแจง ทปอ.แล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าไม่มีการกั๊กที่แน่นอนทปอ.รับเคลียริงเฮาส์ TCAS รอบ 3/2 ยังมีปัญหากั๊กที่นั่ง แต่ปัญหาจะลดลง เชื่อเกิดเฉพาะมหาวิทยาลัยดังไม่เกิน 5 แห่ง แจงคัดเลือกเด็กตามลำดับไม่ได้ เหตุมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์พิจารณาเอง ไม่มีเกณฑ์กลางแบบแอดมิชชัน ห่วงเด็กคะแนนสูงยังไม่รู้จักตัวตน ไม่มีเป้าหมายชัดเจนในการเลือกเรียน ด้านผู้ปกครองพ้อระบบทำเครียดทั้งบ้าน ลูกถึงกับร่ำไห้ เผยเคยทำหนังสือแจง ทปอ.แล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าไม่มีการกั๊กที่แน่นอนทปอ.รับเคลียริงเฮาส์ TCAS รอบ 3/2 ยังมีปัญหากั๊กที่นั่ง แต่ปัญหาจะลดลง เชื่อเกิดเฉพาะมหาวิทยาลัยดังไม่เกิน 5 แห่ง แจงคัดเลือกเด็กตามลำดับไม่ได้ เหตุมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์พิจารณาเอง ไม่มีเกณฑ์กลางแบบแอดมิชชัน ห่วงเด็กคะแนนสูงยังไม่รู้จักตัวตน ไม่มีเป้าหมายชัดเจนในการเลือกเรียน ด้านผู้ปกครองพ้อระบบทำเครียดทั้งบ้าน ลูกถึงกับร่ำไห้ เผยเคยทำหนังสือแจง ทปอ.แล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าไม่มีการกั๊กที่แน่นอน
วันนี้ (30 พ.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึ
รศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
เมื่อถามถึงรอบ 3/2 ก็จะยังมีปัญหาการกั๊กที่ เพราะหากคะแนนถึงก็สามารถติดได้
เมื่อถามถึงข้อเสนอให้ TCAS รอบ 3 มีการจัดลำดับในการเลือก เพื่อไม่ให้เกิดการกั๊กที่นั่ง รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า เรื่องนี้ ทปอ.ไม่สามารถทำได้ เพราะ TCAS รอบ 3 เป็นการรับตรงของแต่ละมหาวิ
“ขณะนี้สิ่งที่ผมเป็นห่วง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการกั๊กที่ แต่เป็นประเด็นที่เด็กกลุ่มได้
รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่สังคมมองว่
เมื่อถามว่าในปีถัดไปก็จะยังเกิ
เมื่อถามถึงเด็กที่เดิ
นางเฉลิม เติมทอง ผู้ปกครองนักเรียนที่สอบ TCAS รอบ 3 กล่าวว่า พวกตนกังวลกันมาก่อนหน้านี้แล้
“จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ลู
นางเฉลิม กล่าวว่า รอบ 3 ควรเป็นการเลือกแบบมีลำดับ คะแนนถึงตรงไหนก็ควรได้อันดับนั้
สพฐ.เตรียมประกาศรับสมัครสอบครู
นายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิ
“ ปฏิทินนี้สอดคล้องกับการย้ายครู การขอใช้อัตรากำลังครูที่จะเกษี
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผย ถึงความคืบหน้าการติดตามปัญหาการทุจริต ที่เกิดขึ้นในศธ. ว่า นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดศธ. และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างโครงการสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา ที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ส่งสรุปผลตรวจสอบข้อเท็จจริง ระยะแรก ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2549 จำนวนเงิน 835 ล้านบาท มาให้ตนพิจารณาแล้ว โดยข้อเท็จจริงก็ควรจะดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี2556-2557 มิหนำซ้ำยังมีการจ่ายเงินล่วงหน้าทันที 15% หรือจำนวน เงิน125 ล้านบาท แต่การก่อสร้างก็ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา และมีการแก้ไขแบบรูปรายการถึง 6 ครั้ง ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ สรุปชัดเจนว่า การแก้ไขแบบรูปรายการทั้ง 6 ครั้ง มีเหตุผลไม่เพียงพอ และน่าจะเอื้อกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำให้ราชการเสียประโยชน์ และจากการหารือกับฝ่ายกฎหมาย เห็นว่า ผลสรุปของทางคณะกรรมการตรวจสอบฯ ยังขาดการสรุป ในส่วนข้อมูลสำคัญ ทั้งขั้นตอนการส่งให้แก้ไขแบบรูปรายการมีใครบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงแต่บอกว่าช่วงที่มีการแก้ไขแบบรูปรายการ ใครเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ดังนั้นจึงสั่งการให้คณะกรรมการตรวจสอบขั้นตอนการแก้ไขแบบรูปรายการดังกล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า แม้ข้อมูลจะยังไม่เพียงพอ แต่ไม่ใช่ว่า อดีตเลขาธิการกอศ. ที่เกี่ยวข้องจะพ้นผิดได้ ซึ่งมี 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสัญญา ดังนั้นเพื่อความชัดเจน และให้เกิดความยุติธรรม ตนจึงมีคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจสอบฯ ไป สรุปเพิ่มเติมในส่วนของขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น การแก้ไขแบบรูปรายการว่ามีการสั่งการจากใคร หรือมีคนข้างล่างเสนอขึ้นมา ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้สรุปให้ตนทราบ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า อดีตเลขาธิการกอศ. ทั้ง 3 คน จะไม่ต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ตนต้องการเห็นภาพให้ชัดเจนว่า ใครเกี่ยวข้องอย่างไร และต้องรับผิดชอบตรงไหน
ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างรอสรุปผล โดยที่ผ่านมา ตนและนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการกอศ. ได้หารือกับ พล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อย่างไม่เป็นทางการ โดยขั้นตอนต่อไป นายสุเทพ จะประเมินความเสียหาย และจัดสรรงบฯ ประมาณ ดำเนินการจัดสร้างอควาเรียมให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะส่งมอบให้ ทส. บริหารต่อเพราะศธ. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญและกำลังในการดำเนินการ ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนส่งมอบเพราะไม่ต้องการให้เป็นภาระกับทางทส.
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการศธ. ได้รายงานข้อมูลจากการลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาการทุจริตในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา และชัยภูมิ ซึ่งหลายเรื่องทำให้ตนไม่สบายใจว่า น่าจะมีการทุจริต จึงมอบหมายให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
พล.ท.โกศล กล่าวว่า กรณีการตรวจสอบอควาเรียม มีอดีตเลขาธิการกอศ. ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขแบบรูปรายการก่อสร้าง 3 ราย คือ นายพรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา ดำรงตำแหน่งปี2552-2553 มีการแก้ไขแบบ 1 ครั้ง นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ดำรงตำแหน่งปี2553-2554 แก้ไขแบบ 1 ครั้ง และนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ดำรงตำแหน่งปี2555-2559 แก้ไขแบบ 4 ครั้ง ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบคงยังไม่เชิญ ทั้ง 3 รายมาให้ข้อมูล เพราะขั้นในตอนสอบสวนวินัย จะต้องเชิญให้ข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งระหว่างรอคณะกรรมการตรวจสอบฯสรุปผลเพิ่มเติม ตนอาจจะเสนอให้ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยควบคู่ไปด้วย ส่วนจะสอบวินัยร้ายแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบฯ รวมถึงดูด้วยว่ามีความเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในส่วนใดบ้าง
ส่วนการลงพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน พบปัญหาการทุจริตเกิดขึ้นในหลายจังหวัด หลายเรื่องดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย กรณีแรก พบเจ้าหน้าที่พัสดุ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา( สพป.)นครราชสีมา เขต 5 มีการวางฎีกาเบิกเงินซ้ำ โดยโรงเรียนแรก เบิกซ้ำไป 8 หมื่นบาท ส่วนอีกโรงเรียนโดนไป 3 ฎีกา 3 แสนบาท ทั้งนี้รูปแบบการทุจริต พบว่า มีการใช้ข้อมูลของร้านค้าที่โรงเรียนตั้งเบิกเงิน แต่เปลี่ยนชื่อรหัส ซึ่งร้านค้าที่โรงเรียนใช้อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา แต่ร้านค้าที่ถูกเปลี่ยนชื่อ อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนั้นยังมีการทำฎีกาลอยทิ้งไว้ที่เขตพื้นที่ฯ พอใกล้สิ้นปีงบประมาณ ซึ่งจะมีงบฯเหลือจ่าย กลุ่มคนเหล่านี้จะใช้ฎีกาลอย เบิกเงินของโรงเรียนซ้ำอีกเป็นประจำ เท่าที่พบมีการตั้งฎีกาลอยไว้แล้วประมาณ 57 ฎีกา เรื่องนี้มีผู้หวังดีกับศธ. และทนพฤติกรรมไม่ไหว มาให้ข้อมูลโดยคณะทำงานของตนได้ทำบันทึกปากคำไว้เรียบร้อยแล้ว ถือว่ามีพยานหลักฐานชัดเจน และตอนนี้ทราบว่าศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ได้ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงเจ้าหน้าที่พัสดุแล้ว ทั้งนี้เท่าที่ตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ตนได้รับจากการลงพื้นที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลการสอบสวนของศธจ. โดยตนคิดว่า น่าจะมีผู้บริหารระดับสูงในเขตพื้นที่ฯ เกี่ยวข้องด้วย จึงขอสรุปสำนวนผลสืบสวนจากศธจ. เพื่อประมวลได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ไม่ใช่จับปลาซิว ปลาสร้อย เจ้าหน้าที่พัสดุคนเดียวไม่น่าจะทำได้เพราะรหัสการตั้งเบิกจะมีเฉพาะหัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงิน และผู้อำนวยการเขตฯเท่านั้น โดยขณะนี้ผู้ที่ให้ข้อมูลมีการถูกข่มขู่และทำร้าย ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องสั่งให้มีการคุ้มครองพยานด้วย
พล.ท.โกศล กล่าวต่อว่า อีกเรื่อง เป็นพฤติกรรมของผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 10 คนเข้ามาให้ข้อมูลพร้อมหลักฐานว่ามีการตกเขียว ในปีงบประมาณ 2562 โดยเรียกเงิน 10%จากผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ให้โรงเรียนจ่ายก่อน 5% เมื่อได้รับงบฯ แล้ว ให้จ่ายอีก 5% โรงเรียนส่วนใหญ่ต้องยอมเพราะถ้าไม่ให้ก็จะไม่ได้รับงบฯ การดำเนินการจะทำเป็นระบบเครือข่าย ประธานเครือข่ายกลุ่มโรงเรียน จะแจ้งผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับงบฯ ซึ่งเรื่องนี้เรามีหลักฐานเป็นพยานบุคคลชัดเจนและจะส่งเรื่องให้สพฐ. เร่งดำเนินการกับผอ.สพท. ต่อไป
“เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดยโสธร ร้องเรียนมาที่คณะทำงานของผม ขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ฝึกทักษะมัธยมศึกษาตอนต้น งบประมาณ 6 แสนบาทต่อโรงเรียน ว่าอาจจะมีการล็อกสเป็ก จากการลงพื้นที่ มีโรงเรียนในพื้นที่มาให้ข้อมูล และได้ตรวจสอบกับ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. พบว่า งบดังกล่าว มีการแจ้งจัดสรรเมื่อ 26 ธันวาคม 2560 โรงเรียนได้รับการจัดสรรรวม 458 โรงเรียน งบทั้งสิ้น 279 ล้านบาท แต่ภายหลังเมื่อมีการอนุมัติงบฯ พบว่า มีโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรงบฯทั้งหมด 600 กว่าโรงเรียน ไม่ตรงกับที่อนุมัติ ขณะที่มีหลายโรงเรียนสะท้อนว่าไม่ได้ต้องการครุภัณฑ์ดังกล่าว บางโรงเรียนเสนอขอแต่ได้ไม่ตรงตามที่เสนอ โดยทราบว่างบฯดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ซึ่งอยู่ที่สพฐ.จะพิจารณาว่า จะเดินต่อหรือจะหยุด โดยขณะนี้ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบ โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ทั้งนี้เรื่องดังกล่าว ทางสพฐ. มีหนังสือสอบถามไปยังโรงเรียนทั้งหมดแล้วว่า ประสงค์อยากได้ครุภัณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ “พล.ท.โกศล กล่าว
ด้านนายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ความคืบหน้าการสืบสวนข้อเท็จจริง กรณี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 32 บุรีรัมย์ จำนวน 3 ราย ต่อเนื่อง จัดอบรมครู โดยไม่มีการอบรมจริง ซึ่งล่าสุด ตนในฐานประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริต ได้สรุปผลสอบ โดยล่าสุดดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. ได้ลงนาม ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง อดีตผู้อำนวยการสพม.32 บุรีรัมย์ ทั้ง 3 รายแล้ว โดยปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสพม. เขต1 กทม. และสพม. เขต2 กทม. ส่วนอีก 1 รายเป็นรองศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ทั้งนี้ไม่ต้องใช้ มาตรการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในระบบราชการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะทั้ง 3 รายไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดิมแล้ว
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบรายละเอียดในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาระหว่างภาคเอกชนและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการซึ่งมีกรอบเวลาความร่วมมือ 5 ปี โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการประกาศรายชื่อภาคเอกชน 10 แห่งและรายชื่อ 40 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ แต่ล่าสุดมีภาคเอกชนเสนอเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมบริหารโรงเรียน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดนิเวศวุฒาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) นครสวรรค์ เขต 1 และโรงเรียนบางหมาก สพป.ตรัง เขต 2 ซึ่งเท่ากับว่าภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา มีภาคเอกชนร่วมสนับสนุน 11 แห่งและโรงเรียน 42 แห่ง โดยพิธีลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทุกโรงเรียนเปิดเทอมแล้ว ซึ่งกลุ่มโรงเรียนร่วมพัฒนาจะต้องเร่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา โดยการบริหารงานจะเปลี่ยนไปเน้นความคล่องตัวขึ้น สามารถบริหารจัดการบุคลากร งบประมาณ การจัดการศึกษา ได้เอง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็จะดูแล ปลดล็อก ระเบียบข้อกฎหมายที่เป็นข้อ จำกัดให้
“ในวันที่ 4 มิ.ย.นี้จะเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 42 แห่ง มาให้ข้อมูลว่าทำอะไรไปบ้าง และมีข้อติดขัดอะไรหรือไม่ ขณะเดียวกัน จะมีการคณะกรรมการติดตามประเมินและวิจัย ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลติดตามประเมินผลตั้งแต่ผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน โดยเชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปอย่างที่ตั้งใจหรือไม่” นพ.อุดม กล่าวและว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ที่ ศธ.จะต้องทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิรูปการศึกษาได้แท้จริง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ โครงการนี้ครอบคลุมโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันเฟสแรกที่ทำกับโรงเรียน 42 แห่งนั้นครอบคลุม 31 จังหวัด ขณะที่เป้าหมายของโครงการแต่ต้นคือ 77 จังหวัด ทั้งนี้ยัง มีข้อเสนอว่าอนาคตอาจจะขยายไปให้มีโรงเรียนร่วมพัฒนาใน 225 เขตพื้นที่การศึกษาเขตละ 1 แห่งเพื่อเป็นแนวทางกับโรงเรียนอื่นๆในสังกัดกว่า 3 หมื่นโรง ขณะเดียวกัน จะเจรจากับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีสถานศึกษาในกำกับ เช่น กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้มาร่วมมือตามแนวทางนี้เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาประเทศด้วย
ด้าน นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา กล่าวว่า สิ่งที่จะได้เห็นในโรงเรียนร่วมพัฒนาคือ โรงเรียนจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคน เช่น อยากรู้เรื่องกฎหมาย อาชีพ สุขภาพ มาบอกโรงเรียนก็จะหาผู้รู้มาช่วยสอน และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง ให้รอดพ้นจากความยากจน ขณะที่นักเรียน จะต้องมีส่วนร่วมในการเรียน การสอน และการจัดการในโรงเรียนตลอดจนร่วมดูแลชุมชน ซึ่งจะมีการจัดตั้งองค์การบริหารหมูบ้านเยาวชนขึ้น ให้เยาวชนร่วมกำหนดวางแผนดูแลชุมชน
“ปนัดดา อยู่วิทยา” บริจาคที่ดิน 5 แปลง รวม 41 ไร่ สร้างโรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี หวังแทนคุณแผ่นดิน
นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาในศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เพื่อเปิดให้ผู้มีความประสงค์และมีความพร้อมเข้ามาช่วยรัฐจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ โดยรัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียบกับการศึกษารูปแบบอื่น ๆ และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และ บอร์ด กพฐ.ก็ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี และโรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนเฉพาะความพิการ เพื่อดูแลเด็กพิการในพื้นที่ไปแล้วนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ น.ส.ปนัดดา อยู่วิทยา ที่ได้แสดงความจำนงที่จะบริจาคที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้แก่โรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี ได้มาทำลงนามบันทึกข้อตกลงบริจาคที่ดินจำนวน 5 แปลง รวมกว่า 41 ไร่ พร้อมเตรียมดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี ต่อไป
“ถือเป็นเจตจำนงที่แนวแน่ที่จะช่วยเหลือเด็กกลุ่มพิเศษอย่างจริงจัง เพราะไม่ใช่แค่บริจาคที่ดินและสิ่งก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังได้ลงลึกโดยส่งทีมงามมาให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) ที่จะมาบูรณาการและออกแบบการบริหารจัดการ เพื่อให้มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษและเด็กพิการที่จะเป็นต้นแบบในการดูแลเด็กเหล่านี้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึงทั้งประเทศในอนาคต ”รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
ด้าน น.ส.ปนัดดา กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้เป็นความตั้งใจมานานแล้วที่จะตอบแทนแผ่นดิน โดยมองว่าวันนี้ศูนย์การศึกษาพิเศษที่ดี ๆ ในประเทศไทยยังมีน้อยมาก ที่มีอยู่ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีความตั้งใจที่จะทำให้โรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี เป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนรวมพร้อมระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นในปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
หลังเปิดให้โรงเรียนรัฐยืดหยุ่นจำนวนนักเรียนต่อห้องได้มากกว่า 40 คน ปรากฎเด็กกว่า 4,000 คนขอลาออกจากโรงเรียนเอกชนไปใช้สิทธิเข้าเรียนพื้นที่บริการ ขนาดเปิดเรียนแล้วเกือบอาทิตย์หน้ายังมาลาออก แค่อ้างยังไม่มีที่เรียนก็รับแล้ว
จากกรณีที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เห็นชอบให้คณะกรรมการสถานศึกษาและ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) พิจารณายืดหยุ่นจำนวนนักเรียนต่อห้อง จาก 40 คน และจำนวนห้องเรียน ได้ตามความเหมาะสม และตามสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักเรียน และความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนปีการศึกษา 2561 เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้รับร้องเรียนว่าการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้องที่ 40 คนทำให้นักเรียนในเขตพื้นที่บริการบางส่วนไม่มีโอกาสเข้าเรียนในพื้นที่บริการได้ นั้น ผศ.ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) เปิดเผยว่า จากการยืดหยุ่นดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนอย่างมาก เนื่องจากการประกาศยืดหยุ่นเกิดขึ้นก่อนเปิดภาคเรียนประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งขณะนั้นโรงเรียนได้รับนักเรียนและมีการจัดห้องเรียน รวมถึงเตรียมแผนการสอนกันแล้ว
“เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)แจ้งไปยัง กศจ. เขตพื้นที่การศึกษา และมีการพิจารณายืดหยุ่นให้ปรับเพิ่มจำนวนนักเรียนต่อห้องได้มากกว่า 40 คนปรากฎว่า มีนักเรียนโรงเรียนเอกชนลาออกเพื่อไปเข้าเรียนโรงเรียนรัฐรวมทั้งประเทศกว่า 4,000 คน แม้แต่เปิดเทอมไปแล้วเด็กเข้ามาเรียนแล้วเกือบหนึ่งสัปดาห์ก็ยังมีเด็กมาลาออก ซึ่งทำให้โรงเรียนเอกชนได้รับความเดือดร้อน และผลกระทบนี้อาจส่งไปถึงการเลิกจ้างครูในโรงเรียนเอกชนบางส่วนด้วย”นายก ส.ปส.กช.กล่าวและว่า ในทางปฏิบัติโรงเรียนเอกชนก็เข้าใจ สพฐ.ที่ถูกกดดันจากหลายทางให้ต้องยืดหยุ่นเรื่องนี้ แต่เมื่อยืดหยุ่นแล้วโรงเรียนปฏิบัติตามนโยบายก็จะไม่มีปัญหา แต่บางโรงเรียนไม่ทำตามเงื่อนไข แค่เด็กมาบอกว่าไม่มีที่เรียนก็รับแล้วทำให้เกิดผลกระทบขึ้นมา จึงอยากขอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาแก้ไขปัญหานี้รวมถึงเตรียมวางมาตรการรองรับการรับนักเรียนในปีการศึกษาหน้าด้ว
หลังจากปีที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)โดยนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ทุ่มงบฯก้อนโต ถึง 4,000 ล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาครูให้ครบวงจร…หวังจะให้ครูได้พัฒนาเพื่อนำไปต่อยอดให้กับนักเรียน เรียนอย่างมีคุณภาพ และเรียนอย่างมีความสุข ตามเป้าหมายของรัฐบาล…โดยมอบหมายให้ สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา(สพค.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)รับผิดชอบ เป็นเจ้าของโครงการ แต่เพราะเป็นนโยบายเร่งด่วน..เร่งรีบ..จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ ครูแตกตื่นกับคูปองครูหัวละ 10,000 ที่ให้ครูเลือกช้อปปิ้งหลักสูตรอบรม…ผลที่ตามมาจึงไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของเสมา1 ผู้กุมบังเหียนในวังจันทร์เกษม
เพราะได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ ประกอบกับได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถึงเรื่องของงบประมาณ คุณภาพวิทยากร หลักสูตร ราคา และการเดินทางของครู รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาครูในปี 2560 ซึ่ง ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ซึ่งเป็นการจัดงบประมาณอบรมหรือคูปองให้แก่ครู สำหรับปีนี้ ซึ่งเป็นการจัดโครงการพัฒนาครูแบบครบวงจร ระยะที่ 2 ปีนี้จะคุมเข้มมากขึ้น โดยจะมีหลักการที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ 1. การคัดเลือกหลักสูตรให้เป็นหน้าที่ของสถาบันคุรุพัฒนา ที่จะพิจารณาว่า หลักสูตรที่หน่วยจัดอบรมเสนอมา เป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักวิชาการหรือไม่ เมื่อสถาบันคุรุพัฒนาพิจารณาหลักสูตรเรียบร้อยแล้วก็จะส่งหลักสูตรนั้นมาที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ซึ่งสพฐ.ก็จะพิจารณาโดยคณะกรรมการ 2 คณะ คือคณะกรรมการประเมินและคัดเลือกหลักสูตร เพื่อประเมินความเหมาะสม ในการนำหลักสูตรไปใช้ ในการพัฒนาข้าราชการครูของสพฐ. โดยมีนางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการกพฐ.เป็นประธาน และคณะกรรมการประเมินความเหมาะสมราคาค่าลงทะเบียนหลักสูตร ให้สอดคล้องตามระเบียบของกระทรวงการคลัง โดยมีนายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน เพื่อให้มั่นใจว่า หลักสูตรนั้น ๆ มีความเหมาะสมกับการนำมาพัฒนาครูอย่างแท้จริง และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ.หรือไม่
เรื่องที่ 2. ค่าลงทะเบียนมีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่ว่าหน่วยจัดอบรมจะเป็นภาคเอกชนหรือภาครัฐ สพฐ.ก็ต้องอนุมัติภายใต้กรอบระเบียบของกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และที่สำคัญมาตรการประหยัดของ สพฐ. ซึ่งมีการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด เพราะ สพฐ.มีภาระต้องดูแลครูกว่า 400,000 คน เรื่องที่ 3. คุณภาพหลักสูตร ซึ่งจะมีการติดตามประเมินว่า หน่วยจัด หรือหน่วยพัฒนา ได้ทำตามเงื่อนไขการจัดอบรมหรือไม่ โดย สพฐ.จะมีคณะกรรมการประเมินหลักสูตร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) และผู้แทนครูที่เข้ารับการอบรม มาช่วยกันประเมินว่า สิ่งที่หน่วยจัดโฆษณาประชาสัมพันธ์กับสิ่งที่จัดอบรมเป็นอย่างไร หากไม่ผ่านการประเมินและไม่ทำตามเงื่อนไขที่เสนอกับสถาบันคุรุพัฒนา สพฐ.ก็จะแจ้งให้สถาบันคุรุพัฒนาเพิกถอนการอนุมัติหลักสูตร ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถเบิกเงินที่จัดอบรมได้ และ เรื่องที่ 4 จะมีการกำหนดระยะทางในการเดินทางไปอบรมของครู โดยเบื้องต้นได้มีการหารือกันแล้วว่า จะให้อยู่ในกลุ่มจังหวัด เพราะไม่อยากให้ครูเดินทางไกล ซึ่งนอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว อาจต้องเบียดบังเวลาราชการที่จะต้องอยู่กับเด็กได้
นพ.ธีระเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ได้พูดถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า ขณะนี้ทราบว่ามีหน่วยพัฒนาครูเสนอหลักสูตรพัฒนาครูให้สถาบันคุรุพัฒนา พิจารณารับรองกว่า 5,000 หลักสูตร แต่ปรากฏว่ามีหลักสูตรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้อยมาก เพราะปีนี้ มีนโยบายและกำชับสถาบันคุรุพัฒนา ต้องพิจารณาหลักสูตรด้วยความเข้มข้น เนื่องจากปีที่ผ่านมา ถูกติงว่าสถาบันคุรุพัฒนา ให้ผ่านง่ายเกินไป ไม่ตรงวัตถุประสงค์ที่จะนำไปพัฒนาเด็กจริง ๆ และหลักสูตรที่อบรมส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องเทคนิคการสอนไม่ค่อยมีองค์ความรู้ ฉะนั้นปีนี้คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร จึงต้องพิจารณาด้วยความเข้มข้นและต้องหลายขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง
“ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่าทำเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อครูก็ต้องยอมรับในมาตรฐาน ถ้าคิดว่าไม่ดีก็ต้องเสนอแนะเข้ามา ซึ่งสถาบันคุรุพัฒนา และคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร ล้วนแต่เป็นนักวิชาการก็ต้องนำไปคิด แต่ผมจะไม่ยุ่งเรื่องการพิจารณาหลักสูตร เพราะเป็นหน้าที่ของสถาบันคุรุพัฒนา แม้แต่หลักสูตรของมูลนิธิที่ผมเป็นประธานอยู่เสนอเข้ามาก็ยังตก หรือหลักสูตรของคนรู้จักก็ยังตก ซึ่งผมก็บอกไปว่าเรื่องนี้ไม่มีการใช้เส้นใด ๆ ทั้งสิ้น หลักสูตรที่ผ่านจะต้องได้มาตรฐานจริง ๆ”นพ.ธีระเกียรติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สิ่งที่ต้องการคือหลักสูตรที่ไม่มีผู้เสนอให้สถาบันคุรุพัฒนารับรอง ซึ่งตนจะให้นโยบายไปว่าสถาบันคุรุพัฒนา ต้องออกไปตามหาและให้การรับรองหลักสูตรเหล่านั้น แต่ทั้งนี้ต้องเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย เพื่อให้ครูเข้าไปรับการอบรม เช่น บูทแคมป์ หรือการอบรมออนไลน์ เพื่อให้ครูได้รับการอบรมอย่างทั่วถึง เพราะบางคนอาจจะอยู่ไกลเดินทางไม่สะดวก
ก็ต้องจับตาดูว่า สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ จะติดตามดูหลักสูตรที่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบันคุรุพัฒนา จะเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์กับเด็กจริงหรือไม่
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือหลักเกณฑ์การคัดเลือกองค์กรคุณธรรม ซึ่งมี 3 ระดับ คือ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม องค์กรคุณธรรม และ องค์กรคุณธรรมต้นแบบ ซึ่งประเด็นคือคณะกรรมการมีความเห็นว่า เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ และของประชาชนตั้งแต่เด็กจึงอยากให้ส่งเสริมคุณธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรด้วย เพราะฉะนั้นในปี 2561การคัดเลือกจะเน้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรและบุคคล
รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงการขับเคลื่อนแผนแม่บท 4 ภาค ซึ่งได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยจะเน้นการส่งเสริมคุณธรรมหลัก 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต และ จิตอาสา ซึ่งจะมีการรณรงค์และสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ ระดับโรงเรียน ชุมชน จนถึงบริษัท ห้างร้าน โดยคุณธรรมทั้ง 4ประการนี้ จะเป็นหัวข้อหลักที่จะใช้จัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9ในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม 2561 ด้วย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณารูปแบบการจัดงาน ที่จะเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมและส่งเสริมคุณธรรมในประเทศให้เข้มแข็งและยังยืนต่อไปในอนาคต
“รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องคุณธรรม จึงมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมให้เป็นรากฐานที่แข็งแรงของประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งเสริมคุณธรรมนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการทำงานในเชิงบูรณาการร่วมกันอยู่แล้ว แต่คิดว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ควรนำไปรณรงค์ในเด็กให้มากขึ้น ที่สำคัญการสอนหน้าที่พลเมืองซึ่งน่าจะมีสอดแทรกอยู่ในวิชาต่างๆ อยู่แล้ว หากได้มีการเน้นย้ำและมีการพูดเรื่องการส่งเสริมการสร้างความดีให้มาก เชื่อว่าจะเป็นการกำหนดทิศทางการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับได้อย่างแน่นอน”นายสุวพันธุ์ กล่าว